อโศกมหาราช...
ขอขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ http://www.dmc.tv และ http://worldrecordhistory.blogspot.com |
อโศกมหาราช...
ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
และความขัดแย้งกับศาสนาพราหณ์หลังพุทธปรินิพพาน
พระเจ้าอโศกมหาราช
คือกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาสตร์โลกจารึกไว้ว่า
เป็นผู้ที่สามารถแผ่ขยายพระราชอำนาจทางการเมืองการปกครองไปพร้อม ๆ กับการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระเจ้าอโศกเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพินทุสารและพระนางศิริธัมมาแห่งราชวงศ์เมารยะ
ขณะที่พระเจ้าพินทุสารใกล้จะสวรรคตนั้น ทรงประกาศยกราชสมบัติให้แก่พระเจ้าอโศก
แต่พระเชษฐาต่างพระมารดาไม่พอพระทัย จึงทรงไปชักชวนพระอนุชาอีก ๙๘ พระองค์
ยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ แต่พระเจ้าอโศกทรงสังหารเสียทั้งหมด
พร้อมทั้งทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป
เมื่อพระเจ้าอโศกเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน
ก็ทรงประหารขุนนางและข้าราชการ ๕๐๐ คน ที่กระด้างกระเดื่องด้วยพระองค์เอง และใครก็ตามที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญชาก็ทรงสั่งให้ฆ่าเสีย
ภายหลังเมื่อทอดพระเนตรเห็นกิริยาอาการอันน่าเลื่อมใสของสามเณรนิโครธ
จึงทรงนิมนต์สามเณรให้มาฉันภัตตาหารและแสดงธรรม
เมื่อพระองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็บังเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
ต่อมายังทรงได้ฟังธรรมจากพระสมุทรเถระ
และทรงส่งพระราชหฤทัยตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน
ทำให้ทรงยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่นและทรงเปลี่ยนเป็นผู้มีความเมตตากรุณาอย่างยิ่ง รับสั่งให้เลิกสถานทัณฑกรรมต่าง ๆ
ที่กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนจำลองขุมนรกมาไว้บนโลกมนุษย์ นอกจากนี้ยังทรงบำรุงพระพุทธศาสนาโดยการสร้างพระสถูปเจดีย์ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถึง
๙๖ โกฏิ อีกทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่
๓และทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาถึง ๙ สาย ทรงสร้างมหาวิหารถวายพระสงฆ์ถึง ๘๔,๐๐๐ แห่ง
นอกจากนี้ ในจารึกพระเจ้าอโศก ศิลาจารึกฉบับที่
๕ ยังจารึกข้อความไว้ว่า เมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์ได้ ๒๖ พรรษา
ทรงออกประกาศห้ามฆ่าสัตว์หลากหลายชนิด อาทิเช่น นกชนิดต่าง ๆ ค้างคาว มดแดง
เต่าเล็ก ปลาไม่มีกระดูก กบ กระต่าย กวางเร็ว วัวตอนสัตว์ที่อาศัยหากินในเรือน แรด
นกพิราบ และสัตว์ ๔ เท้า ที่มิใช่สัตว์ใช้งานและมิใช่สัตว์สำหรับบริโภค แม่แพะ
แม่แกะ และแม่หมูที่กำลังมีท้อง กำลังให้นมอยู่
และลูกอ่อนของสัตว์ที่อายุยังไม่ถึง ๖ เดือน ฯลฯ
ศ.ดร.อมร รักษาสัตย์ กล่าวถึงพระเจ้าอโศกไว้ว่า
ทรงให้การคุ้มครองสัตว์ งดเว้นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ต่าง ๆ และมีพระบรมราชโองการให้เลิกฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญอย่างเด็ดขาด
แม้พระองค์เองก็ทรงงดการเสวยเนื้อสัตว์
การห้ามฆ่าสัตว์บูชายัญของพระเจ้าอโศกปรากฏในศิลาจารึกหลายฉบับ เช่น
ศิลาจารึกฉบับที่ ๑ ที่ ๔ และที่ ๑๑ เป็นต้น
การสั่งห้ามฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญอันเป็นหลักปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์นี้เอง
เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ศาสนาพราหมณ์ระส่ำระสาย เพราะการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญถือเป็นพิธีกรรมอันสำคัญในศาสนาพราหมณ์มาช้านานและเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์
อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนที่ต้องการจะทำลายผลประโยชน์และลาภสักการะโดยการใช้กฎหมายบ้านเมืองมาบังคับ
ส่งผลให้ประชาชนผู้มีศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ไม่สามารถแสดงความเป็นศาสนิกของตนเองได้อย่างเต็มที่
แม้นักบวชของศาสนาพราหมณ์จะออกมาโต้แย้ง แต่ด้วยพระราชอำนาจ
การโต้แย้งต่าง ๆ จึงไม่สัมฤทธิ์ผล
อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ประชาชน
และยังทรงสอนให้แต่ละคนปฏิบัติตามหลักธรรมในศาสนาของตนอย่างเคร่งครัดและมิให้ดูหมิ่นหรือเบียดเบียนศาสนาอื่น
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากพระเจ้าอโศกมีพระราชประสงค์ที่จะสนับสนุนพระพุทธศาสนาแต่เพียงฝ่ายเดียว แน่นอนว่าศาสนาพราหมณ์ก็คงจะสูญหายไปตั้งแต่ในยุคนั้น
ต่อมา หลังจากพระเจ้าอโศกสวรรคตได้ไม่ถึง ๑๐๐
ปี พระพุทธศาสนาถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว
สาเหตุน่าจะมาจากพระราชอำนาจที่ข่มอำนาจของลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เอาไว้ในรัชสมัยของพระองค์ก่อให้เกิดความขัดแย้งสะสม
อีกทั้งเมื่อสิ้นพระเจ้าอโศกแล้ว
เกิดการกบฏโดยพราหมณ์ ชื่อ “ปุษยมิตร” ต่อมามีการก่อตั้งราชวงศ์ศุงคะขึ้น
จากเหตุการณ์ดังกล่าว อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่า ท่ามกลางการสู้รบอันดุเดือด การกวาดล้างพระพุทธศาสนากลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการทำลายความมั่นคงและความจงรักภักดีต่อราชวงศ์เมารยะ
ส่งผลให้พระพุทธศาสนาถูกลดบทบาทและความสำคัญลงจนกระทั่งถูกทำลายลงในที่สุด
ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น
ยังมีมุมมองที่น่าสนใจอยู่อีกมาก
ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน www.doumaster.net ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชาพระพุทธศาสนาเถรวาท
(BD 211 103) หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย..
ที่มา
: พระธรา กิตฺติธโร,
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย
Cr. พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๔๐
เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
คลิกอ่าน Dou ความรู้สากลของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
ความอาภัพ ๑๘ ประการ
พระสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์แสดงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
การทำบุญกับพระอรหันต์ในบ้าน
ความแตกต่างบนความเหมือนของการเกิดเป็นมนุษย์
การกลับมาของมหาวิทยาลัยนาลันทา... ศูนย์กลางแห่งพุทธปรัชญาเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน
เวลากับชีวิต
รู้จักมนุษย์ในจักรวาลวิทยา
พระสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์แสดงความรุ่งเรืองฯ |
ความอาภัพ ๑๘ ประการ |
คลิกอ่าน Dou ความรู้สากลของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
ความอาภัพ ๑๘ ประการ
พระสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์แสดงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
การทำบุญกับพระอรหันต์ในบ้าน
ความแตกต่างบนความเหมือนของการเกิดเป็นมนุษย์
การกลับมาของมหาวิทยาลัยนาลันทา... ศูนย์กลางแห่งพุทธปรัชญาเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน
เวลากับชีวิต
รู้จักมนุษย์ในจักรวาลวิทยา
อโศกมหาราช...
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:49
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: