ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๓
พระธรรมเทศนา
พุทธภารกิจเร่งสร้างคน
๑. การสร้างคนในยุคต้นพุทธกาล
การเร่งสร้างคนในยุคต้นพุทธกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นไปที่การสร้างพระภิกษุก่อนเป็นอันดับแรก โดยทรงวางเป้าหมายขั้นพื้นฐานไว้ที่การฝึกฝนอบรมคนให้เป็นเสมือน ต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย แต่ทนทรหดเหมือนต้นหญ้า
คำว่า ต้นไม้ใหญ่ หมายถึง การฝึกอบรมพระภิกษุให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม ที่สมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรมและจริยาอันดีงาม ขณะเดียวกันก็มีน้ำใจเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ อุทิศชีวิตบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกด้วยการแนะนำสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดี
คำว่า กินน้ำน้อย หมายถึง การดำรงชีพด้วยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต เหมือนต้นหญ้าที่กินน้ำน้อย
การเป็นต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย ก็คือ การเป็นบุคคลที่อุดมด้วยศีลธรรมจรรยาอันดีงาม และอุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ดำรงชีวิตด้วยการบริโภคปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นของชีวิต เพียงเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเป้าหมายในการสร้างพระภิกษุยุคบุกเบิกให้เป็นเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อยดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มต้นภารกิจการสร้างคน ด้วยการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมต่อการบรรลุธรรมที่สุดเป็นอันดับแรก โดยมีคุณสมบัติอย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่
๑. เป็นผู้ที่เห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
๒. เป็นผู้ที่กำลังแสวงหาหนทางกำจัดทุกข์ด้วยตนเองบ้างแล้ว
๓. เป็นผู้มีความเพียรในการกำจัดทุกข์ หากได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว
บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ส่วนมากมักจะออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ฝึกฝน อบรมตนเองเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยตนเอง หรือเป็นผู้ที่ออกบวชเพื่อเฝ้ารอการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ก่อนแล้ว เช่น พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ เป็นต้น ครั้นเมื่อได้พบกับพระองค์ก็เกิดศรัทธา อยากเข้าใกล้ อยากฟังธรรม อยากปฏิบัติธรรม เพื่อที่ตนจะได้กำจัดทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารให้หมดสิ้นไป
ท่านเหล่านี้ ก่อนที่จะพบกับพระพุทธองค์ บางท่านก็แยกฝึกตนเป็นเอกเทศ บางท่านก็อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ เมื่อได้พบพระพุทธองค์และฟังธรรมแล้ว บางท่านหรือบางหมู่คณะ ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที แล้วก็กราบทูลขอประทานการบวชเป็นพระสาวก ส่วนบางท่านแม้ไม่หมดกิเลสในทันที แต่ก็มีดวงตาเห็นธรรมและกราบทูลขอบวชเป็นสาวกเช่นกัน พระองค์ก็ทรงประทานการบวชให้ด้วยการตรัสอนุญาตว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด ซึ่งการบวชแบบนี้ เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
ส่วนท่านที่ยังไม่หมดกิเลสเมื่อบวชแล้ว หลังจากฟังธรรมและปฏิบัติธรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน กลายเป็นพยานการตรัสรู้ธรรมที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาในโลกทันที และทำให้จำนวนพระภิกษุสาวกที่บวชตลอดชีวิต ในยุคต้นพุทธกาลเพิ่มขึ้นมาตามลำดับจากหลักหน่วยเป็นหลักสิบ หลักสิบเป็นหลักร้อย จากหลักร้อยเป็นหลักพัน พระพุทธศาสนาที่เริ่มต้นด้วยการตรัสรู้เพียงลำพังพระองค์นั้น ก็เพิ่มขุนพลแห่งกองทัพธรรมมากขึ้นทุกวัน ๆ โดยเริ่มจากการแสดงธรรมให้ผู้ฟังที่พร้อมที่สุดเพียงวันละคนสองคนนี่เอง
ในช่วงเวลาต่อมา หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ แล้ว ก็มีผู้ศรัทธาขอบวชเป็นพระภิกษุสาวกจำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า การที่เหล่าพระอรหันต์ต้องพากุลบุตรรอนแรมเดินทางไกล เพื่อมาทูลขออนุญาตการบวชจากพระองค์นั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระอรหันต์ทำหน้าที่บวชกุลบุตรผู้มีศรัทธาแทนพระองค์ได้ โดยการให้กุลบุตรกล่าวคำปฏิญาณตนว่า "ข้าพเจ้าขอนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต" ซึ่งการบวชแบบนี้ เรียกว่า "ไตรสรณคมน์" ส่งผลให้พระอรหันต์มีลูกศิษย์เป็นพระภิกษุเพิ่มจำนวนขึ้นมาก อีกทั้งทำให้การบวชกับพระอรหันต์แพร่หลายมากขึ้น พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวาง ยิ่งขึ้น ส่งผลให้จำนวนชาวพุทธในบางเมืองเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสน บางเมืองเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พระพุทธศาสนามีจำนวนพระภิกษุที่บวชตลอดชีวิต และเป็นพระอรหันต์เพิ่มขึ้นจากหลักพันเป็นหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังจากงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านไปอีกหลายปี ในแคว้นชนบทที่ห่างไกล ออกไปจากแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในยุคต้นพุทธกาล ก็มีประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น และมีกุลบุตรขอบวชเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ขาดแคลน พระอรหันต์ที่จะเดินทางไปบวชได้ทั่วถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุที่อยู่ในแคว้นชนบททำการบวชด้วยวิธีการประชุมสงฆ์ ซึ่งการบวชแบบนี้เรียกว่า "ญัตติจตุตถกรรม" โดยให้หมู่สงฆ์ร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้ขอบวช ว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นผู้รับการฝึกฝนอบรมหรือไม่ และเห็นควรรับเข้ามาอยู่ในหมู่สงฆ์หรือไม่
การบวชในเขตชนบทห่างไกลนั้น พระองค์ทรงกำหนดว่าต้องประชุมสงฆ์อย่างน้อยที่สุด จำนวน ๕ รูป ส่วนการบวชในเขตตัวเมือง ทรงอนุญาตให้ประชุมสงฆ์จำนวน ๑๐ รูป ขึ้นไป สำหรับพระอุปัชฌาย์ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นพระภิกษุเถระที่ฝึกฝนอบรมตนมาอย่างดี เป็นต้นแบบความประพฤติที่ดีได้ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป
๒. เป็นผู้มีความฉลาดในการคัดกรองคนและประกอบพิธีการบวชให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ
๓. เป็นผู้มีความสามารถในการเป็นครูบาอาจารย์ คือให้การอบรมสั่งสอนพระภิกษุใหม่ ให้เป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยการถือนิสัยของนักบวชได้ สอนให้มีศีลาจารวัตรงดงามได้ สอนให้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยได้ และสอนการเจริญกรรมฐานเพื่อการปราบกิเลสในตนได้ ทั้งนี้เพื่อให้ภิกษุใหม่เป็นอายุพระพุทธศาสนา และเป็นเนื้อนาบุญอย่างแท้จริงของชาวโลก
การบวชแบบญัตติจตุตถกรรมนี้เอง เป็นเหตุให้การบวชพระภิกษุในดินแดนชนบทที่ห่างไกล แพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันมาก ยังผลให้มีจำนวนพระภิกษุที่มีศรัทธาบวชตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากหลักหมื่นเป็นหลักแสนอย่างรวดเร็ว
การบวชโดยการประชุมสงฆ์นี้ ในระยะแรกก็ยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะมีการคัดกรองคนที่สมัครมาบวชอย่างรอบคอบ และการอบรมมีคุณภาพไม่ย่อหย่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมิได้ทรงบัญญัติพระปาติโมกข์หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นศีลสิกขาบทของพระภิกษุในปัจจุบัน ครั้นต่อมาเมื่อการคัดกรองคน และการอบรมคนมีคุณภาพย่อหย่อนลง จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุบางรูปประพฤติตนไม่เรียบร้อย และก่อปัญหาที่ไม่ดีไม่งามขึ้นในหมู่สงฆ์ ซึ่งเรียกว่า "ต้นบัญญัติ" ทำให้หมู่สงฆ์ต้องถูกชาวโลกติเตียน พระศาสนาพลอยมัวหมองไปด้วย พระพุทธองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ และบัญญัติศีลสิกขาบททีละข้อ ๆ ให้หมู่สงฆ์รับทราบ และนำไปปฏิบัติให้ตรงกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็ทรงกำหนดเป็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ตรงกันทั้งสังฆมณฑล
สำหรับการฝึกอบรมพระภิกษุใหม่ในช่วงที่พระพุทธศาสนายังไม่มีการบัญญัติศีลสิกขาบท ๒๒๗ ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้พระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์เป็นผู้ฝึกฝนอบรมพระภิกษุบวชใหม่ด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่อง "การดำรงชีพแบบพระอริยเจ้า" ซึ่งเรียกว่า "การให้นิสัย ๔" ได้แก่
นิสัยที่ ๑ บิณฑบาต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ (ลาภพิเศษหรือลาภลอย) คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวันปาฏิบท"
นิสัยที่ ๒ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่น ผ้าด้ายแกมไหม)"
นิสัยที่ ๓ อาศัยโคนไม้เป็นที่นั่งที่นอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะ ในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ"
นิสัยที่ ๔ ดื่มน้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรค
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย"
การฝึกนิสัย ๔ นี้ เป็นการฝึกพระภิกษุให้ดำรงชีพด้วย ความรู้ประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต เพื่อเรียนรู้คุณค่าของความมักน้อย สันโดษ ไม่มีสมบัติส่วนเกินซึ่งเป็นภาระให้ต้องห่วงใยดูแลมาก มีเพียงอัฐบริขารก็เพียงพอแล้ว เพราะทำให้ลด "ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน" ลงไปได้มาก จึงมีเวลาที่จะบำเพ็ญสมณธรรม คือปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์เกื้อกูลต่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระภิกษุเป็นอย่างมาก
เมื่อพระภิกษุใหม่ปรับตัวเข้ากับการดำรงชีพด้วยนิสัย ๔ ในแต่ละวันได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงให้หลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่กำจัดทุกข์ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีทางผิดพลาด เรียกว่า "อปัณณกธรรม" แปลว่า การปฏิบัติที่ไม่ผิด มีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ หมายถึง การรู้จักระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เผลอไปดู ไปฟัง ไปดม ไปลิ้มรส ไปสัมผัส ไปลุ่มหลงในสิ่งที่ยั่วเย้ายวนใจให้อกุศลธรรมครอบงำใจ อันเป็นการเปิดช่องทางให้กิเลสกำเริบเสิบสานขึ้นมาบีบบังคับใจให้เกิดทุกข์เพราะตัณหาขึ้นในทันที
ผู้ที่ฝึกความสำรวมอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ ย่อมเก็บใจไว้ในตัวได้เป็นปกติ ทำให้ใจคุ้นกับความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หลงใหลไปกับสิ่งยั่วเย้ายวนใจได้ง่าย เมื่อถึงคราวเจริญภาวนา ใจก็สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ต่าง ๆ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ทำให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิได้เร็ว และบรรลุธรรมได้ไว
๒. โภชเน มัตตัญญุตา คือ ความรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร หมายถึง มีปัญญารู้ว่า การบริโภคอาหารก็เพียงเพื่อประทังชีวิตให้รอดตายไปได้ในแต่ละวัน เพื่อเติมธาตุ ๔ ให้กับร่างกาย เพื่อดับความหิวกระหาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ มิได้บริโภคเพื่อความเอร็ดอร่อยในรสอาหาร เพื่อความอยากหล่ออยากสวย เพื่อความเลิศหรูมีหน้ามีตา ทั้งต้องไม่บริโภคมากเกินไป โดยยึดหลักว่า หากรู้สึกว่ารับประทานอีก ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำลงไปก็จะอิ่มพอดีก็ให้หยุดรับประทาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกะปริมาณอาหารในจานให้พอดี เพื่อไม่ให้มีเหลือทิ้งเหลือขว้าง อันเป็นความสิ้นเปลืองและเพาะนิสัยไม่ดีให้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย เช่น ความมักง่าย ความเห็นแก่ตัว เป็นต้น
ผู้ที่ฝึกความรู้ประมาณในโภชนาหารอย่างสม่ำเสมอ ย่อมทำให้เกิดผลดี ๒ ทาง คือ ทางกายกับทางใจ ในด้านทางกายย่อมทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการบริโภคเกินจำเป็น จากการตามใจปากตามใจท้อง หรือจากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เป็นโทษต่อร่างกาย ในด้านทางใจย่อมทำให้กิเลสไม่สามารถอาศัยช่องทางที่ร่างกายถูกบังคับให้ต้องเติมธาตุ ๔ เล็ดลอดเข้ามาบีบคั้นใจให้เกิดความทุกข์ได้ ทำให้ใจไม่เกิดความอยากได้ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามอำนาจกิเลส ทำให้ทุกข์ในชีวิตประจำวันลดลง อาศัยข้าวเพียงไม่กี่ทัพพีก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นภาระในเรื่องการเลี้ยงดูของชาวโลก เมื่อถึงคราวเจริญภาวนาก็ทำให้ใจสงบนิ่งได้เร็ว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยตัณหา ทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็วไว
๓. ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ซึ่งหมายถึงการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อมุ่งปราบกิเลสให้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะประกอบความเพียรได้ทุกอิริยาบถก็เพราะสามารถสำรวมอินทรีย์และรู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นนิสัย
ผู้ที่ประกอบความเพียรเพื่อกำจัดกิเลสอย่างสม่ำเสมอนี้ ย่อมช่วยให้การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ สมบูรณ์ครบถ้วน โดยเริ่มตั้งแต่ ความเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นความเห็นถูกต้องหรือสัมมาทิฐิ ส่งผลให้คิดถึง การออกบวช ซึ่งเป็นความคิดถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะนั่นเอง สำหรับเรื่อง อินทรียสังวร นั้น ก็คือ สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะส่วน โภชเน มัตตัญญุตา นั้น มีความสัมพันธ์กับทั้งสัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ ชาคริยานุโยค ก็คือสัมมาวายามะโดยตรง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสัมมาสติและสัมมาสมาธิด้วย
กล่าวได้ว่า ผู้ที่มีสัมมาทิฐิมองเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสารและคิดว่าการออกบวชคือวิถีทางแห่งความหลุดพ้น เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ "อปัณณกธรรม" อย่างต่อเนื่องจริงจัง ก็เท่ากับได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้สมบูรณ์ครบถ้วน ยิ่งปฏิบัติอปัณณกธรรมหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่รอบมากเท่าใด กิเลสในใจก็ถูกกำจัดออกไปได้มากเท่านั้น
ผู้ที่ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ใจย่อมมีความสงบอย่างต่อเนื่องเป็นพิเศษ ในที่สุดใจย่อมหยุดนิ่งถูกส่วนเป็นสมาธิที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งอยู่ในระดับเดียวกับธรรมเบื้องต้น การเข้าถึงธรรมะเบื้องต้นย่อมเกิดขึ้นในทันที
ในขณะที่กำลังเข้าถึงธรรมะเบื้องต้นอยู่นั้น หากทำสมาธิให้ใจหยุดนิ่งถูกส่วนมากขึ้นไปอีก จนกระทั่งระดับความละเอียด ประณีต ลึกซึ้งของสมาธิสูงกว่าธรรมะเบื้องต้น การเข้าถึงธรรมะที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งในขั้นที่สูงกว่าย่อมเกิดขึ้นในทันที ซึ่งก็หมายความว่า ใจยิ่งหยุดนิ่งถูกส่วนมีความละเอียดมากขึ้นเท่าไร ใจก็จะสามารถเข้าถึงธรรมะที่มีความละเอียดมากบริสุทธิ์มากขึ้นเท่านั้น
ในที่สุดแล้ว เมื่อการทำใจหยุดนิ่งมีความละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง อยู่ในระดับที่สามารถมองเห็นอริยสัจ ๔ คือ ๑) มองเห็นใจและทุกข์ที่อยู่ในใจของตนเอง ๒) มองเห็นกิเลสที่ซ่อนอยู่ในใจ ๓) มองเห็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่ใช้กำจัดกิเลส เรียกว่า นิพพาน ๔) มองเห็นวิธีการหลอมใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับนิพพาน เมื่อนั้นการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมบังเกิดขึ้นในทันที หัวใจสำคัญของการตรัสรู้อริยสัจ ๔ นี้ อยู่ที่ความชำนาญในการเจริญภาวนา ให้ใจหยุดนิ่งในศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องไม่มีถอนถอย และการที่ใจจะหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายได้นั้น ก็ต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ในชีวิตประจำวันอย่างครบถ้วนและต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ตลอดวันและตลอดคืน ที่เรียกว่า อปัณณกธรรม นั่นเอง
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ความรู้ประมาณ
ตอนที่ ๓
รากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
-----------------------------------------------
พุทธภารกิจเร่งสร้างคน
๑. การสร้างคนในยุคต้นพุทธกาล
การเร่งสร้างคนในยุคต้นพุทธกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมุ่งเน้นไปที่การสร้างพระภิกษุก่อนเป็นอันดับแรก โดยทรงวางเป้าหมายขั้นพื้นฐานไว้ที่การฝึกฝนอบรมคนให้เป็นเสมือน ต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย แต่ทนทรหดเหมือนต้นหญ้า
คำว่า ต้นไม้ใหญ่ หมายถึง การฝึกอบรมพระภิกษุให้เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม ที่สมบูรณ์พร้อมด้วยศีลธรรมและจริยาอันดีงาม ขณะเดียวกันก็มีน้ำใจเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ อุทิศชีวิตบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกด้วยการแนะนำสั่งสอนประชาชนให้เป็นคนดี
คำว่า กินน้ำน้อย หมายถึง การดำรงชีพด้วยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต เหมือนต้นหญ้าที่กินน้ำน้อย
การเป็นต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อย ก็คือ การเป็นบุคคลที่อุดมด้วยศีลธรรมจรรยาอันดีงาม และอุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ดำรงชีวิตด้วยการบริโภคปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นของชีวิต เพียงเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเป้าหมายในการสร้างพระภิกษุยุคบุกเบิกให้เป็นเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่กินน้ำน้อยดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มต้นภารกิจการสร้างคน ด้วยการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมต่อการบรรลุธรรมที่สุดเป็นอันดับแรก โดยมีคุณสมบัติอย่างน้อย ๓ ประการ ได้แก่
๑. เป็นผู้ที่เห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
๒. เป็นผู้ที่กำลังแสวงหาหนทางกำจัดทุกข์ด้วยตนเองบ้างแล้ว
๓. เป็นผู้มีความเพียรในการกำจัดทุกข์ หากได้ฟังธรรมจากพระองค์ก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว
บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ส่วนมากมักจะออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ฝึกฝน อบรมตนเองเพื่อแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยตนเอง หรือเป็นผู้ที่ออกบวชเพื่อเฝ้ารอการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ก่อนแล้ว เช่น พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ เป็นต้น ครั้นเมื่อได้พบกับพระองค์ก็เกิดศรัทธา อยากเข้าใกล้ อยากฟังธรรม อยากปฏิบัติธรรม เพื่อที่ตนจะได้กำจัดทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารให้หมดสิ้นไป
ท่านเหล่านี้ ก่อนที่จะพบกับพระพุทธองค์ บางท่านก็แยกฝึกตนเป็นเอกเทศ บางท่านก็อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ เมื่อได้พบพระพุทธองค์และฟังธรรมแล้ว บางท่านหรือบางหมู่คณะ ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที แล้วก็กราบทูลขอประทานการบวชเป็นพระสาวก ส่วนบางท่านแม้ไม่หมดกิเลสในทันที แต่ก็มีดวงตาเห็นธรรมและกราบทูลขอบวชเป็นสาวกเช่นกัน พระองค์ก็ทรงประทานการบวชให้ด้วยการตรัสอนุญาตว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด ซึ่งการบวชแบบนี้ เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
ส่วนท่านที่ยังไม่หมดกิเลสเมื่อบวชแล้ว หลังจากฟังธรรมและปฏิบัติธรรมซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่นานนักก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน กลายเป็นพยานการตรัสรู้ธรรมที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาในโลกทันที และทำให้จำนวนพระภิกษุสาวกที่บวชตลอดชีวิต ในยุคต้นพุทธกาลเพิ่มขึ้นมาตามลำดับจากหลักหน่วยเป็นหลักสิบ หลักสิบเป็นหลักร้อย จากหลักร้อยเป็นหลักพัน พระพุทธศาสนาที่เริ่มต้นด้วยการตรัสรู้เพียงลำพังพระองค์นั้น ก็เพิ่มขุนพลแห่งกองทัพธรรมมากขึ้นทุกวัน ๆ โดยเริ่มจากการแสดงธรรมให้ผู้ฟังที่พร้อมที่สุดเพียงวันละคนสองคนนี่เอง
ในช่วงเวลาต่อมา หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ แล้ว ก็มีผู้ศรัทธาขอบวชเป็นพระภิกษุสาวกจำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า การที่เหล่าพระอรหันต์ต้องพากุลบุตรรอนแรมเดินทางไกล เพื่อมาทูลขออนุญาตการบวชจากพระองค์นั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระอรหันต์ทำหน้าที่บวชกุลบุตรผู้มีศรัทธาแทนพระองค์ได้ โดยการให้กุลบุตรกล่าวคำปฏิญาณตนว่า "ข้าพเจ้าขอนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต" ซึ่งการบวชแบบนี้ เรียกว่า "ไตรสรณคมน์" ส่งผลให้พระอรหันต์มีลูกศิษย์เป็นพระภิกษุเพิ่มจำนวนขึ้นมาก อีกทั้งทำให้การบวชกับพระอรหันต์แพร่หลายมากขึ้น พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวาง ยิ่งขึ้น ส่งผลให้จำนวนชาวพุทธในบางเมืองเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสน บางเมืองเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พระพุทธศาสนามีจำนวนพระภิกษุที่บวชตลอดชีวิต และเป็นพระอรหันต์เพิ่มขึ้นจากหลักพันเป็นหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังจากงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านไปอีกหลายปี ในแคว้นชนบทที่ห่างไกล ออกไปจากแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในยุคต้นพุทธกาล ก็มีประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น และมีกุลบุตรขอบวชเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ขาดแคลน พระอรหันต์ที่จะเดินทางไปบวชได้ทั่วถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุที่อยู่ในแคว้นชนบททำการบวชด้วยวิธีการประชุมสงฆ์ ซึ่งการบวชแบบนี้เรียกว่า "ญัตติจตุตถกรรม" โดยให้หมู่สงฆ์ร่วมกันพิจารณาถึงความเหมาะสมของผู้ขอบวช ว่ามีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นผู้รับการฝึกฝนอบรมหรือไม่ และเห็นควรรับเข้ามาอยู่ในหมู่สงฆ์หรือไม่
การบวชในเขตชนบทห่างไกลนั้น พระองค์ทรงกำหนดว่าต้องประชุมสงฆ์อย่างน้อยที่สุด จำนวน ๕ รูป ส่วนการบวชในเขตตัวเมือง ทรงอนุญาตให้ประชุมสงฆ์จำนวน ๑๐ รูป ขึ้นไป สำหรับพระอุปัชฌาย์ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ
๑. เป็นพระภิกษุเถระที่ฝึกฝนอบรมตนมาอย่างดี เป็นต้นแบบความประพฤติที่ดีได้ และมีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป
๒. เป็นผู้มีความฉลาดในการคัดกรองคนและประกอบพิธีการบวชให้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ
๓. เป็นผู้มีความสามารถในการเป็นครูบาอาจารย์ คือให้การอบรมสั่งสอนพระภิกษุใหม่ ให้เป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยการถือนิสัยของนักบวชได้ สอนให้มีศีลาจารวัตรงดงามได้ สอนให้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยได้ และสอนการเจริญกรรมฐานเพื่อการปราบกิเลสในตนได้ ทั้งนี้เพื่อให้ภิกษุใหม่เป็นอายุพระพุทธศาสนา และเป็นเนื้อนาบุญอย่างแท้จริงของชาวโลก
การบวชแบบญัตติจตุตถกรรมนี้เอง เป็นเหตุให้การบวชพระภิกษุในดินแดนชนบทที่ห่างไกล แพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันมาก ยังผลให้มีจำนวนพระภิกษุที่มีศรัทธาบวชตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากหลักหมื่นเป็นหลักแสนอย่างรวดเร็ว
การบวชโดยการประชุมสงฆ์นี้ ในระยะแรกก็ยังไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะมีการคัดกรองคนที่สมัครมาบวชอย่างรอบคอบ และการอบรมมีคุณภาพไม่ย่อหย่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมิได้ทรงบัญญัติพระปาติโมกข์หรือศีล ๒๒๗ ข้อ ซึ่งเป็นศีลสิกขาบทของพระภิกษุในปัจจุบัน ครั้นต่อมาเมื่อการคัดกรองคน และการอบรมคนมีคุณภาพย่อหย่อนลง จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุบางรูปประพฤติตนไม่เรียบร้อย และก่อปัญหาที่ไม่ดีไม่งามขึ้นในหมู่สงฆ์ ซึ่งเรียกว่า "ต้นบัญญัติ" ทำให้หมู่สงฆ์ต้องถูกชาวโลกติเตียน พระศาสนาพลอยมัวหมองไปด้วย พระพุทธองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ และบัญญัติศีลสิกขาบททีละข้อ ๆ ให้หมู่สงฆ์รับทราบ และนำไปปฏิบัติให้ตรงกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็ทรงกำหนดเป็นวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ตรงกันทั้งสังฆมณฑล
สำหรับการฝึกอบรมพระภิกษุใหม่ในช่วงที่พระพุทธศาสนายังไม่มีการบัญญัติศีลสิกขาบท ๒๒๗ ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้พระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์เป็นผู้ฝึกฝนอบรมพระภิกษุบวชใหม่ด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่อง "การดำรงชีพแบบพระอริยเจ้า" ซึ่งเรียกว่า "การให้นิสัย ๔" ได้แก่
นิสัยที่ ๑ บิณฑบาต
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ (ลาภพิเศษหรือลาภลอย) คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ ภัตถวายในวันปาฏิบท"
นิสัยที่ ๒ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่น ผ้าด้ายแกมไหม)"
นิสัยที่ ๓ อาศัยโคนไม้เป็นที่นั่งที่นอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะ ในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ"
นิสัยที่ ๔ ดื่มน้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรค
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต
อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย"
การฝึกนิสัย ๔ นี้ เป็นการฝึกพระภิกษุให้ดำรงชีพด้วย ความรู้ประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต เพื่อเรียนรู้คุณค่าของความมักน้อย สันโดษ ไม่มีสมบัติส่วนเกินซึ่งเป็นภาระให้ต้องห่วงใยดูแลมาก มีเพียงอัฐบริขารก็เพียงพอแล้ว เพราะทำให้ลด "ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน" ลงไปได้มาก จึงมีเวลาที่จะบำเพ็ญสมณธรรม คือปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์เกื้อกูลต่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระภิกษุเป็นอย่างมาก
เมื่อพระภิกษุใหม่ปรับตัวเข้ากับการดำรงชีพด้วยนิสัย ๔ ในแต่ละวันได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงให้หลักปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่กำจัดทุกข์ในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีทางผิดพลาด เรียกว่า "อปัณณกธรรม" แปลว่า การปฏิบัติที่ไม่ผิด มีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่
๑. อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ หมายถึง การรู้จักระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เผลอไปดู ไปฟัง ไปดม ไปลิ้มรส ไปสัมผัส ไปลุ่มหลงในสิ่งที่ยั่วเย้ายวนใจให้อกุศลธรรมครอบงำใจ อันเป็นการเปิดช่องทางให้กิเลสกำเริบเสิบสานขึ้นมาบีบบังคับใจให้เกิดทุกข์เพราะตัณหาขึ้นในทันที
ผู้ที่ฝึกความสำรวมอินทรีย์อย่างสม่ำเสมอ ย่อมเก็บใจไว้ในตัวได้เป็นปกติ ทำให้ใจคุ้นกับความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หลงใหลไปกับสิ่งยั่วเย้ายวนใจได้ง่าย เมื่อถึงคราวเจริญภาวนา ใจก็สงบ ไม่คิดฟุ้งซ่านไปกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ต่าง ๆ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ทำให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิได้เร็ว และบรรลุธรรมได้ไว
๒. โภชเน มัตตัญญุตา คือ ความรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร หมายถึง มีปัญญารู้ว่า การบริโภคอาหารก็เพียงเพื่อประทังชีวิตให้รอดตายไปได้ในแต่ละวัน เพื่อเติมธาตุ ๔ ให้กับร่างกาย เพื่อดับความหิวกระหาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ มิได้บริโภคเพื่อความเอร็ดอร่อยในรสอาหาร เพื่อความอยากหล่ออยากสวย เพื่อความเลิศหรูมีหน้ามีตา ทั้งต้องไม่บริโภคมากเกินไป โดยยึดหลักว่า หากรู้สึกว่ารับประทานอีก ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำลงไปก็จะอิ่มพอดีก็ให้หยุดรับประทาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกะปริมาณอาหารในจานให้พอดี เพื่อไม่ให้มีเหลือทิ้งเหลือขว้าง อันเป็นความสิ้นเปลืองและเพาะนิสัยไม่ดีให้เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย เช่น ความมักง่าย ความเห็นแก่ตัว เป็นต้น
ผู้ที่ฝึกความรู้ประมาณในโภชนาหารอย่างสม่ำเสมอ ย่อมทำให้เกิดผลดี ๒ ทาง คือ ทางกายกับทางใจ ในด้านทางกายย่อมทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการบริโภคเกินจำเป็น จากการตามใจปากตามใจท้อง หรือจากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เป็นโทษต่อร่างกาย ในด้านทางใจย่อมทำให้กิเลสไม่สามารถอาศัยช่องทางที่ร่างกายถูกบังคับให้ต้องเติมธาตุ ๔ เล็ดลอดเข้ามาบีบคั้นใจให้เกิดความทุกข์ได้ ทำให้ใจไม่เกิดความอยากได้ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามอำนาจกิเลส ทำให้ทุกข์ในชีวิตประจำวันลดลง อาศัยข้าวเพียงไม่กี่ทัพพีก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นภาระในเรื่องการเลี้ยงดูของชาวโลก เมื่อถึงคราวเจริญภาวนาก็ทำให้ใจสงบนิ่งได้เร็ว ไม่ฟุ้งซ่านด้วยตัณหา ทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็วไว
๓. ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ซึ่งหมายถึงการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อมุ่งปราบกิเลสให้หมดสิ้นไปอย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะประกอบความเพียรได้ทุกอิริยาบถก็เพราะสามารถสำรวมอินทรีย์และรู้ประมาณในการบริโภคอาหารเป็นนิสัย
ผู้ที่ประกอบความเพียรเพื่อกำจัดกิเลสอย่างสม่ำเสมอนี้ ย่อมช่วยให้การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ สมบูรณ์ครบถ้วน โดยเริ่มตั้งแต่ ความเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นความเห็นถูกต้องหรือสัมมาทิฐิ ส่งผลให้คิดถึง การออกบวช ซึ่งเป็นความคิดถูกต้องหรือสัมมาสังกัปปะนั่นเอง สำหรับเรื่อง อินทรียสังวร นั้น ก็คือ สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะส่วน โภชเน มัตตัญญุตา นั้น มีความสัมพันธ์กับทั้งสัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ ชาคริยานุโยค ก็คือสัมมาวายามะโดยตรง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสัมมาสติและสัมมาสมาธิด้วย
กล่าวได้ว่า ผู้ที่มีสัมมาทิฐิมองเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสารและคิดว่าการออกบวชคือวิถีทางแห่งความหลุดพ้น เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ "อปัณณกธรรม" อย่างต่อเนื่องจริงจัง ก็เท่ากับได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้สมบูรณ์ครบถ้วน ยิ่งปฏิบัติอปัณณกธรรมหรืออริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่รอบมากเท่าใด กิเลสในใจก็ถูกกำจัดออกไปได้มากเท่านั้น
ผู้ที่ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ใจย่อมมีความสงบอย่างต่อเนื่องเป็นพิเศษ ในที่สุดใจย่อมหยุดนิ่งถูกส่วนเป็นสมาธิที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งอยู่ในระดับเดียวกับธรรมเบื้องต้น การเข้าถึงธรรมะเบื้องต้นย่อมเกิดขึ้นในทันที
ในขณะที่กำลังเข้าถึงธรรมะเบื้องต้นอยู่นั้น หากทำสมาธิให้ใจหยุดนิ่งถูกส่วนมากขึ้นไปอีก จนกระทั่งระดับความละเอียด ประณีต ลึกซึ้งของสมาธิสูงกว่าธรรมะเบื้องต้น การเข้าถึงธรรมะที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้งในขั้นที่สูงกว่าย่อมเกิดขึ้นในทันที ซึ่งก็หมายความว่า ใจยิ่งหยุดนิ่งถูกส่วนมีความละเอียดมากขึ้นเท่าไร ใจก็จะสามารถเข้าถึงธรรมะที่มีความละเอียดมากบริสุทธิ์มากขึ้นเท่านั้น
ในที่สุดแล้ว เมื่อการทำใจหยุดนิ่งมีความละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง อยู่ในระดับที่สามารถมองเห็นอริยสัจ ๔ คือ ๑) มองเห็นใจและทุกข์ที่อยู่ในใจของตนเอง ๒) มองเห็นกิเลสที่ซ่อนอยู่ในใจ ๓) มองเห็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่ใช้กำจัดกิเลส เรียกว่า นิพพาน ๔) มองเห็นวิธีการหลอมใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับนิพพาน เมื่อนั้นการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมบังเกิดขึ้นในทันที หัวใจสำคัญของการตรัสรู้อริยสัจ ๔ นี้ อยู่ที่ความชำนาญในการเจริญภาวนา ให้ใจหยุดนิ่งในศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่องไม่มีถอนถอย และการที่ใจจะหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายได้นั้น ก็ต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ในชีวิตประจำวันอย่างครบถ้วนและต่อเนื่องในทุกอิริยาบถ ตลอดวันและตลอดคืน ที่เรียกว่า อปัณณกธรรม นั่นเอง
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
คลิกอ่านความรู้ประมาณของวารสารอยู่ในบุญ ตอนที่ ๑ - ๑๒ ตามหัวข้อด้านล่างนี้
ความรู้ประมาณ ตอนจบ
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๓
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
02:43
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: