ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑
พระธรรมเทศนา
ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ เราจะต้องทำหน้าที่สืบทอดอายุพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อจากบรรพบุรุษของเรา สิ่งที่เราต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนาไว้อย่างไร พระพุทธศาสนาจึงได้มีอายุยืนยาวจากยุคพุทธกาลจวบจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อว่าเราจะได้ยึดถือเป็นแบบอย่างในการสืบทอดดูแลรักษาพระพุทธศาสนา ให้มีรากฐานมั่นคงแข็งแรงดั่งเช่นครั้งพุทธกาล และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองยั่งยืนสืบต่อไปอีกนานนับพัน ๆ ปี
๑. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถบรรลุธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
๒. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถสั่งสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงสั่งสอน ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
๓. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถแสดงธรรมปราบปรัปวาท คือวาทะหรือถ้อยคำของเจ้าลัทธิอื่น ที่มุ่งจาบจ้วงโจมตีพระพุทธศาสนาให้สงบเรียบร้อย โดยชอบธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงกระทำได้ ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
การที่พระองค์ตรัสยื่นเงื่อนไขเช่นนี้ ก็เพื่อให้แน่พระทัยว่าจะทรงมีเวลาเพียงพอในการวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ทั้งนี้เพราะถ้าพุทธบริษัท ๔ สามารถบรรลุเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการได้ ก็จะเป็นหลักประกันว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จะไม่สาบสูญไปหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน การตรัสรู้อันแสนยากลำบากของพระองค์ก็จะไม่สูญเปล่า เพราะทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างยึดเป็นหลักปฏิบัติประจำใจเป็นกิจวัตร พร้อมทั้งช่วยกันเผยแผ่ต่อไปอย่างกว้างขวาง มั่นคง และต่อเนื่องไม่ชะงักงัน ให้ทุกชีวิตได้รับประโยชน์อย่างถ้วนทั่ว
๑. งานเร่งสร้างพระอริยบุคคล คือทำอย่างไรให้มีผู้ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ไปได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด
๒. งานเร่งสร้างครู คือทำอย่างไรให้มีตัวแทนของพระองค์ออกไปทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมได้มากที่สุด รวดเร็วที่สุด กว้างไกลที่สุด ทั่วถึงที่สุด
๓. งานเร่งสร้างความมั่นคง คือทำอย่างไรให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงที่สุด มีความปลอดภัยที่สุด และมีอายุยืนยาวที่สุด
งานเร่งด่วนทั้ง ๓ งานนี้ คือการวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้ยืนยงคงอยู่ไปนานนับพันปี ซึ่งจะเป็นหลักประกันว่า แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว โลกนี้ก็จะยังคงมีผู้บรรลุธรรมตามพระองค์ไปได้ มีผู้สามารถประกาศธรรมสืบต่อจากพระองค์ได้ มีผู้ปราบปรัปวาทอันเป็นถ้อยคำ หรือวาทะของเจ้าลัทธิอื่นที่กล่าวโจมตีพระพุทธศาสนาสืบต่อจากพระองค์ได้ นั่นคือความคุ้มค่าแห่งสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะนอกจากจะช่วยเผยแผ่สัจธรรมให้ชาวโลกรู้แล้ว ยังจะช่วยชาวโลกให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสารอันเต็มไปด้วยความทุกข์ตามพระองค์ไปอีกด้วย
ประเภทที่ ๑ ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน
ประเภทที่ ๒ ปัญหามาร ๕ ฝูง
ประเภทที่ ๓ ปัญหาพญามาร
๑. ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันมีอยู่ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ในสรีระ ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ทุกข์จากการเลี้ยงชีพ และทุกข์จากการถูกกิเลสบีบคั้น
ทุกข์ทั้ง ๔ ประการนี้ ต่างส่งผลโยงใยต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ กล่าวคือ ใจคนเราทุกคน ล้วนถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสมาแต่กำเนิด ใจจึงไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ธาตุในร่างกายไม่บริสุทธิ์ เซลล์ในร่างกายจึงมีการเกิดการตายด้วยอัตราเฉลี่ย ๓๐๐ ล้านเซลล์ต่อนาทีอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้ร่างกายต้องการเติมธาตุ ๔ เป็นระยะ ๆ เช่น การรับประทานอาหารก็เพื่อเติมธาตุ ๔ สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ก่อนที่ร่างกายจะเจ็บไข้ได้ป่วยลงไป
คลิกอ่านความรู้ประมาณของวารสารอยู่ในบุญ ตอนที่ ๑ - ๑๒ ตามหัวข้อด้านล่างนี้
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๒
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๓
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๔
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๕
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๖
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๗
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๘
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๙
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑๐
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑๑
ความรู้ประมาณ ตอนจบ
ตอนที่ ๑
ความรู้ประมาณ
รากฐานความมั่งคงของพระพุทธศาสนา
-----------------------------------------------
ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ เราจะต้องทำหน้าที่สืบทอดอายุพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อจากบรรพบุรุษของเรา สิ่งที่เราต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างถูกต้องก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนาไว้อย่างไร พระพุทธศาสนาจึงได้มีอายุยืนยาวจากยุคพุทธกาลจวบจนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อว่าเราจะได้ยึดถือเป็นแบบอย่างในการสืบทอดดูแลรักษาพระพุทธศาสนา ให้มีรากฐานมั่นคงแข็งแรงดั่งเช่นครั้งพุทธกาล และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองยั่งยืนสืบต่อไปอีกนานนับพัน ๆ ปี
การวางรากฐานพระพุทธศาสนา
การวางรากฐานพระพุทธศาสนาได้เริ่มต้นขึ้นในยุคต้นพุทธกาล
ซึ่งนานกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
โดยเริ่มขึ้นในวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตกลงเงื่อนไขการเสด็จดับขันธปรินิพพานกับพญามาร
ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ใน มหาปรินิพพานสูตร ซึ่งพอจะกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้การวางรากฐานพระพุทธศาสนา
ในช่วงต้นพุทธกาล
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่นานนัก
ในช่วงสัปดาห์ที่ ๕ ขณะที่พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ใต้ต้นไทรใหญ่
ชื่อว่า อชปาลนิโครธ พญามารใจบาปที่ติดตามขัดขวางการตรัสรู้มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ แล้วกล่าวถ้อยคำในเชิงข่มขู่บังคับพระองค์ให้เสด็จดับขันธปรินิพพานในเดี๋ยวนั้นทันที
เมื่อได้ฟังคำข่มขู่นั้นแล้ว
พระองค์ก็มิได้ทรงหวาดหวั่นแต่ประการใด ทรงตอบปฏิเสธพญามารกลับไปในทันที
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทรงตรวจสอบอายุสังขารของพระองค์ดูแล้ว ก็ทรงพบว่า แม้จะทรงกำจัดกิเลสออกไปจากพระทัยจนหมดสิ้นแล้ว
แต่พระวรกายของพระองค์ยังมิอาจหลุดพ้นจากกฎไตรลักษณ์ได้
จะต้องเปื่อยเน่าดับสลายไปตามกาลเวลาสักวันหนึ่ง
หนทางเดียวที่จะทำให้การตรัสรู้ที่แสนยากลำบากของพระองค์ไม่สูญเปล่า
แต่สามารถอำนวยประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ให้แก่ชาวโลกได้ ก็คือ
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่ขยายกว้างไกลออกไป
จนกระทั่งทั้งมนุษย์และเทวดาบรรลุธรรมที่พระองค์ตรัสรู้
และสามารถประกาศศาสนาสืบต่อจากพระองค์ต่อไปอีกนานแสนนาน ดังนั้น พระองค์จึงทรงเสนอ
"เงื่อนไข ๓
ประการ" ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อต่อรองการเสด็จดับขันธปรินิพพานกับพญามาร
ซึ่งต่อมาเงื่อนไขดังกล่าวนั้น ได้กลายมาเป็นพุทธภารกิจเร่งด่วนในการวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาวนานแสนนาน
เงื่อนไข ๓
ประการ ในการวางรากฐานพระพุทธศาสนา
มีใจความโดยสรุปดังนี้
๑. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถบรรลุธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
๒. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถสั่งสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงสั่งสอน ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
๓. ตราบใดที่พุทธบริษัท ๔ ยังไม่สามารถแสดงธรรมปราบปรัปวาท คือวาทะหรือถ้อยคำของเจ้าลัทธิอื่น ที่มุ่งจาบจ้วงโจมตีพระพุทธศาสนาให้สงบเรียบร้อย โดยชอบธรรมดุจเดียวกับที่พระองค์ทรงกระทำได้ ก็จะไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน
การที่พระองค์ตรัสยื่นเงื่อนไขเช่นนี้ ก็เพื่อให้แน่พระทัยว่าจะทรงมีเวลาเพียงพอในการวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ทั้งนี้เพราะถ้าพุทธบริษัท ๔ สามารถบรรลุเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการได้ ก็จะเป็นหลักประกันว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จะไม่สาบสูญไปหลังจากเสด็จดับขันธปรินิพพาน การตรัสรู้อันแสนยากลำบากของพระองค์ก็จะไม่สูญเปล่า เพราะทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างยึดเป็นหลักปฏิบัติประจำใจเป็นกิจวัตร พร้อมทั้งช่วยกันเผยแผ่ต่อไปอย่างกว้างขวาง มั่นคง และต่อเนื่องไม่ชะงักงัน ให้ทุกชีวิตได้รับประโยชน์อย่างถ้วนทั่ว
การยื่นเงื่อนไขของพระองค์ในครั้งนี้
หากพินิจพิเคราะห์กันอย่างลึกซึ้งแล้ว อาจกล่าวได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีเวลาไม่มากนักสำหรับการวางรากฐานความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในอนาคต ทั้งนี้เพราะในวันตรัสรู้ธรรมนั้น
พระองค์ทรงมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษาแล้ว และเสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยพระชนมายุเพียง
๘๐ พรรษา นั่นคือทรงมีเวลาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพียง ๔๕ ปี เท่านั้นเอง อนึ่ง ถ้านำเวลา
๔๕ ปี แห่งการเผยแผ่
เพื่อวางรากฐานพระพุทธศาสนาไปเทียบกับระยะเวลาในการสร้างบารมีจนได้ทรงตรัสรู้ธรรม
ซึ่งยาวนานถึง ๒๐ อสงไขย กับอีก ๑ แสนมหากัปนั้น
ก็นับว่าน้อยนิดจนเทียบกันไม่ได้เลย
การที่พระองค์ทรงมีเวลาทำงานเพียง ๔๕ ปี
เท่านั้น เป็นการบ่งชี้ให้คนรุ่นหลังอย่าง เราได้ข้อคิดว่า
งานสำคัญที่พระองค์ทรงทำเพื่อรื้อขนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนั้น จะต้องเร่งทำให้เสร็จสิ้นก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน
หรือหากจะพูดกันด้วยสำนวนชาวบ้าน ก็คือ "งานทุกอย่างต้องทำแข่งกับเวลาของอายุสังขาร
และต้องทำอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
เพื่อช่วยชาวโลกให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้"
จึงจะสามารถวางรากฐานพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงไม่ดับสูญตามพระองค์ไป
แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม
ทั้งหมดนี้คือสภาพการวางรากฐานพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอุปสรรคปัญหามากมายทีเดียว
ภารกิจเร่งด่วน ๓ ประการ
หลังจากที่พระองค์ทรงทำข้อตกลงกับพญามารใจบาปเสร็จสิ้นแล้ว พญามารก็จากไป
ส่วนพระองค์ก็ทรงรีบเร่งทำงานวางรากฐานพระพุทธศาสนาทันที ซึ่งจากข้อตกลงในเงื่อนไข
๓ ประการ ก็ทำให้เราทราบว่า พระองค์ทรงมีภารกิจเร่งด่วนอยู่ ๓ งาน นั่นคือ
๑. งานเร่งสร้างพระอริยบุคคล คือทำอย่างไรให้มีผู้ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ไปได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด
๒. งานเร่งสร้างครู คือทำอย่างไรให้มีตัวแทนของพระองค์ออกไปทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมได้มากที่สุด รวดเร็วที่สุด กว้างไกลที่สุด ทั่วถึงที่สุด
๓. งานเร่งสร้างความมั่นคง คือทำอย่างไรให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงที่สุด มีความปลอดภัยที่สุด และมีอายุยืนยาวที่สุด
งานเร่งด่วนทั้ง ๓ งานนี้ คือการวางรากฐานพระพุทธศาสนาให้ยืนยงคงอยู่ไปนานนับพันปี ซึ่งจะเป็นหลักประกันว่า แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว โลกนี้ก็จะยังคงมีผู้บรรลุธรรมตามพระองค์ไปได้ มีผู้สามารถประกาศธรรมสืบต่อจากพระองค์ได้ มีผู้ปราบปรัปวาทอันเป็นถ้อยคำ หรือวาทะของเจ้าลัทธิอื่นที่กล่าวโจมตีพระพุทธศาสนาสืบต่อจากพระองค์ได้ นั่นคือความคุ้มค่าแห่งสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะนอกจากจะช่วยเผยแผ่สัจธรรมให้ชาวโลกรู้แล้ว ยังจะช่วยชาวโลกให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสารอันเต็มไปด้วยความทุกข์ตามพระองค์ไปอีกด้วย
อุปสรรคสำคัญในการวางรากฐานพระพุทธศาสนา
ในการวางรากฐานพระพุทธศาสนานั้น
พระพุทธองค์ทรงต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการอย่างนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งพอสรุปได้ว่า
อุปสรรคที่จ้องทำลายขัดขวางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ตลอดเวลา มีอยู่ ๓ ประเภท
ได้แก่
ประเภทที่ ๑ ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน
ประเภทที่ ๒ ปัญหามาร ๕ ฝูง
ประเภทที่ ๓ ปัญหาพญามาร
๑. ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันมีอยู่ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ในสรีระ ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ทุกข์จากการเลี้ยงชีพ และทุกข์จากการถูกกิเลสบีบคั้น
ทุกข์ทั้ง ๔ ประการนี้ ต่างส่งผลโยงใยต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ กล่าวคือ ใจคนเราทุกคน ล้วนถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสมาแต่กำเนิด ใจจึงไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ธาตุในร่างกายไม่บริสุทธิ์ เซลล์ในร่างกายจึงมีการเกิดการตายด้วยอัตราเฉลี่ย ๓๐๐ ล้านเซลล์ต่อนาทีอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้ร่างกายต้องการเติมธาตุ ๔ เป็นระยะ ๆ เช่น การรับประทานอาหารก็เพื่อเติมธาตุ ๔ สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป ก่อนที่ร่างกายจะเจ็บไข้ได้ป่วยลงไป
เหล่านี้ก็คือ สภาพของทุกข์ในสรีระ
ความต้องการเติมธาตุ ๔ ให้ร่างกายมิได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะเรื่องการบริโภคอาหาร
แต่ยังขยายวงครอบคลุมไปถึงการบริโภคปัจจัย ๔ ทั้งหมด คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ดังนั้น การเติมธาตุ ๔
จึงผนวกเอาเรื่องของความต้องการเติมปัจจัย ๔ เข้าไปอีกด้วย
ความต้องการปัจจัย ๔ นี้เอง
เป็นเหตุให้คนเราจำเป็นต้องประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้ทรัพย์มาซื้อหาปัจจัย ๔
แท้ที่จริงนั้นปัจจัย ๔ ในโลกนี้ มีปริมาณเพียงพอที่จะเลี้ยงผู้คนทั้งโลก แต่เพราะเหตุที่ผู้คนทั้งหลายต่างมีใจไม่บริสุทธิ์เพราะอำนาจกิเลส
จึงต่างมุ่งมั่นที่จะครอบครองปัจจัย ๔ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ยังผลให้เกิดการแข่งขันแย่งชิงปัจจัย ๔ กัน เข้าทำนองมือใครยาวสาวได้สาวเอา
ใครดีใครได้
พฤติกรรมในการแข่งขันแย่งชิงปัจจัย ๔ กัน
ส่งผลให้มนุษย์เบียดเบียนกัน ทะเลาะวิวาทกัน
ถึงขั้นสู้รบกันจนกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศและสงครามโลก
ดังปรากฏในประวัติศาสตร์มาแล้ว เหล่านี้คือ ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน
ทุกข์จากการเลี้ยงชีพ และทุกข์จากการถูกกิเลสบีบคั้นจิตใจ
ซึ่งเมื่อรวมกับทุกข์ในสรีระที่กล่าวมาแล้ว ก็จัดว่าเป็น
ปัญหาทุกข์ในชีวิตในประจำวัน
เพราะเหตุที่คนเราต่างจมอยู่กับปัญหา
ทุกข์ในชีวิตประจำวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จึงทำให้ไม่เกิดปัญญาหันมาสนใจศึกษาหาความจริงว่า คนเราเกิดมาทำไม
อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต จะมีวิธีแก้ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ
ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันผูกให้เราต้องติดอยู่ในคุกแห่งวัฏสงสารต่อไปเรื่อย ๆ
๒. ปัญหามาร ๕ ฝูง
ที่ทรมานมนุษย์ให้เกิดทุกข์ในชีวิตประจำวัน
มาร ๕ ฝูง ได้แก่ กิเลสมาร ขันธมาร อภิสังขารมาร
เทวบุตรมาร มัจจุมาร มาร ๕ ฝูงนี้เอง
ที่ตามเล่นงานมนุษย์จนต้องประสบกับปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างมากมายไม่รู้จบสิ้น
นับตั้งแต่ทำให้ใจไม่บริสุทธิ์ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
บีบคั้นให้ก่อกรรมชั่วในการหาปัจจัย ๔ เลี้ยงชีพอย่างต่อเนื่อง จนเกิดนิสัยชั่วและสันดานชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการติดคุกชั่วนิรันดร์
มารฝูงที่ ๑ กิเลสมาร มารฝูงนี้หมายถึง
กิเลส ซึ่งเป็นธาตุสกปรกที่คอยห่อหุ้ม บีบคั้น บังคับ
ครอบงำใจให้เกิดความเดือดร้อนกระวนกระวายใจต่าง ๆ นานา อันเป็นเหตุให้คิดชั่ว
พูดชั่ว และทำชั่ว ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น
รู้สึกตรอมใจอย่างหนักจึงคิดฆ่าตัวตาย เกิดความโลภอยากร่ำรวย จึงก่อคดีปล้นธนาคาร
เกิดความคิดมิจฉาทิฐิจึงลุ่มหลงอยู่กับการพนัน
ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจำต้องหันไปค้ายาเสพติดเพื่อหาเงินมาใช้หนี้สิน เป็นต้น
พฤติกรรมชั่วร้ายต่าง ๆ ดังกล่าว ล้วนเกิดจากการที่จิตใจถูกกิเลสครอบงำ บีบคั้น
ซึ่งยังผลให้เกิดปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น
มารฝูงที่ ๒ ขันธมาร มารฝูงนี้หมายถึง
ร่างกาย ร่างกายของคนเรานั้นเป็นรังแห่งโรคมากมาย จึงจัดเป็นมารฝูงหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะถ้าร่างกายอ่อนแอลงเมื่อใด เชื้อโรคต่าง ๆ ที่แฝงตัวอยู่ในร่างกาย
ก็จะออกฤทธิ์ทำร้ายร่างกายให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นานา
เกิดเป็นปัญหาทุกข์ในสรีระ
อันเป็นปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
"สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง"
มารฝูงที่ ๓ อภิสังขารมาร
มารฝูงนี้หมายถึง อกุศลกรรมหรือบาป
ซึ่งเป็นผลแห่งกรรมชั่วที่คนเราเคยทำไว้ในอดีตติดตามมาเป็นอุปสรรคต่อการสร้างคุณงามความดี
จ้องทำลายล้างผลาญ อันเป็นเหตุให้พบความทุกข์ยากลำบากตั้งแต่ถือกำเนิดจนกระทั่งตาย
ตราบใดที่วิบากของกรรมชั่วยังส่งผลไม่หมด
ก็จะตามทวงหนี้เรื่อยไปอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น เกิดมายากจน เกิดมาพิการ
เกิดมาโง่เขลาเบาปัญญา เป็นต้น
ทำให้คนเราต้องพบกับปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น
มารฝูงที่ ๔ เทวบุตรมาร
มารฝูงนี้หมายถึง คนพาล ซึ่งเป็นคนที่ถูกกิเลสครอบงำ บีบคั้นใจให้คิดชั่ว พูดชั่ว
ทำชั่ว จนกลายเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อสังคม เช่น ปล้น ฆ่า ข่มขืน
ต้มตุ๋นหลอกลวง ค้ายาเสพติด เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาทุกข์จากการอยู่ร่วมกันและปัญหาทุกข์จากการเลี้ยงชีพ
ทั้งของตัวคนพาลเองและของผู้คนในสังคมอย่างไม่รู้จบสิ้น
มารฝูงที่ ๕ มัจจุมาร มารฝูงนี้หมายถึง
ความตาย เพราะตัดรอนชีวิตทำให้หมดโอกาสในการสร้างความดีทุกอย่าง
ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว บุพการี และสังคม ในปัจจุบันชาติ
ยิ่งกว่านั้นยังหมดโอกาสสั่งสมบุญบารมีเพื่อภพชาติเบื้องหน้าอีกด้วย ในบางกรณียังทิ้งปัญหาไว้ให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่เบื้องหลังต้องประสบทุกข์ทรมานนานัปการอย่างน่าเศร้าสลดใจยิ่งนัก
มารทั้ง ๕ ฝูงนี้
เป็นกองทัพมารที่คอยติดตามขัดขวางการทำความดีและหนทางบรรลุมรรคผลนิพพานของมนุษย์ทุกคน
ทำให้คนเราต้องสาละวนอยู่กับการแก้ปัญหาทุกข์ในชีวิตประจำวัน
จนไม่อำนวยให้เกิดปัญญาค้นหาหนทางหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
มนุษย์เราจึงต้องเป็นเสมือนนักโทษที่ติดอยู่ในคุกแห่งวัฏสงสารอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น
มาร ๕ ฝูงนี้ จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการวางรากฐานพระพุทธศาสนา
๓. ปัญหาพญามาร ผู้บังคับบัญชามาร ๕ ฝูง ให้ตามล้างตามผลาญมนุษย์
พญามาร คือ ผู้บังคับบัญชามาร ๕ ฝูง
ให้คอยติดตามบีบคั้นมนุษย์ให้พบกับความทุกข์นานัปการ
จะได้ไม่มีเวลาคิดหาทางหลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
ยิ่งกว่านั้นยังคอยติดตามรังควาน
และขัดขวางการทำงานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์
ด้วยหวังที่จะทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต้องล่าช้าลงและประสบความล้มเหลวในการวางรากฐานให้มั่นคงในที่สุด
กว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงได้เห็นตัวจริงและได้รู้ความจริงของพญามาร
ก็ในวันที่ทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณนั่นเอง ในทันทีที่พบหน้ากัน
พญามารก็ทูลเชิญให้ปรินิพพานทันที นี่คือความชั่วช้าสามานย์ของพญามารที่จ้องก่อกรรมทำเข็ญต่อมนุษย์ทุกคน
โดยไม่ปรากฏตัวให้ใครเห็น ครั้นเมื่อพระองค์ทรงไปพบความจริงแห่งสังสารวัฏแล้ว
พญามารก็ตามขัดขวางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทุกวิถีทาง
เพราะกลัวว่าชาวโลกจะรู้ความจริงแล้วพากเพียรฝึกอบรมตนเพื่อบรรลุความหลุดพ้นจากวัฏสงสารตามพระองค์ไปจนหมดสิ้น
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕คลิกอ่านความรู้ประมาณของวารสารอยู่ในบุญ ตอนที่ ๑ - ๑๒ ตามหัวข้อด้านล่างนี้
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๒
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๓
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๔
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๕
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๖
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๗
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๘
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๙
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑๐
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑๑
ความรู้ประมาณ ตอนจบ
ความรู้ประมาณ ตอนที่ ๑
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
02:50
Rating:
อนุโมทนากับธรรมะดีๆด้วยครับ
ตอบลบสาธุ ครับ
ตอบลบสาธุๆค่ะ
ตอบลบสาธุๆ สาธุครับ
ตอบลบ