เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม?
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา
ทําให้ต้องหาธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง
ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทํากรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ
ส่วนของใจทําหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทํา
กายที่ไม่บริสุทธิ์เกิดจากใจที่ไม่บริสุทธิ์
ใจนั้นเป็นธาตุรู้ เป็นธาตุละเอียด มีที่อยู่ภายในกายทําหน้าที่เห็น จํา คิด รู้
ถูกกิเลสซึ่งเป็นธาตุละเอียดที่สกปรกแทรกอยู่ในใจ ทําให้ใจไม่บริสุทธิ์ การเห็น จํา คิด รู้ของใจจึงไม่ชัดแจ่ม
จึงไม่ถูกต้องไปตามความเป็นจริง เพราะถูกกิเลสบดบัง
เมื่อใจตกอยู่ในอํานาจกิเลส ใจจึงคิดผิด
สั่งให้กายพูดผิด ๆ และทําผิด ๆ กายจึงไม่บริสุทธิ์ ไปตามใจที่ไม่บริสุทธิ์
มนุษย์เราสามารถที่จะแก้ไขใจที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยกิเลส
ให้กลับคืนมาบริสุทธิ์และหลุดพ้นจากอํานาจของกิเลสได้ด้วย “ธรรม” ซึ่งมีอยู่แล้วภายในกายของมนุษย์ทุกคน
“ธรรม” เป็นธรรมชาติที่สะอาด บริสุทธิ์ สว่าง
มีอยู่ในตัวเราทุกคน เมื่อใดที่ใจของเราเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมเหมือนไข่แดงรวมอยู่ในกลางไข่ขาว ธรรมอันบริสุทธิ์จะกลั่นกรองใจให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นเป็นลําดับๆ
จนกระทั่งกิเลสหลุดร่อน ไม่สามารถมีอํานาจบดบังใจได้อีกต่อไป การเห็น จํา คิด
รู้ของใจก็จะชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นไปตามความบริสุทธิ์ที่เพิ่มขึ้นนั้น ใจก็จะเห็นถูก
เมื่อคิดก็คิดได้ถูกต้อง
จึงสั่งกายให้พูดและทําในสิ่งที่ถูกต้องเป็นบุญกุศลมากขึ้น
กายก็บริสุทธิ์ขึ้นไปตามใจที่บริสุทธิ์
ใจของเราจะเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมภายในได้ด้วยวิธีการเดียวเท่านั้น
คือ “การทําสมาธิ” โดยเอากายของเรามานั่งอยู่ในท่าขัดสมาธิด้วยอิริยาบถที่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน
ประคองใจที่แล่นไปในที่ต่าง ๆ ให้กลับเข้ามาอยู่ในตัว โดยใช้บริกรรมคาถา “สัมมาอะระหัง” และ/หรือบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส ๆ องค์พระใส
ๆ เพื่อให้ใจมีที่ยึดที่เกาะ ประคองใจให้มาหยุดมานิ่งได้ง่าย เมื่อใจหยุดนิ่ง
ใจจะกลับมาอยู่ในฐานที่ตั้งดั้งเดิมของใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ กึ่งกลางลําตัวเหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ
เมื่อใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ดีแล้ว
จะมีแรงดึงดูดใจให้ตกมาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖
ซึ่งอยู่กึ่งกลางลําตัวในระดับเดียวกับสะดือของเรา ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรมภายใน
เมื่อใจเข้าถึงธรรม ความสว่างภายในก็เกิด
การเห็นด้วยใจก็เกิด ความสุขภายในจากใจหยุดนิ่งก็เกิด
ใจที่ประกอบด้วยธรรมจะกลับขึ้นมาสู่ที่ตั้งของใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ใหม่ เมื่อใจขยายออกไป ใจจะตกศูนย์ใหม่ เข้าถึงธรรมดวงใหม่ที่สะอาดบริสุทธิ์เข้าไปอีกเป็นลําดับ
ๆ จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายภายในตน
ใจที่ไม่บริสุทธิ์เป็นไปตามอํานาจของกิเลสจะถูกกลั่นถูกกรองด้วยธรรมภายในให้สะอาด
บริสุทธิ์ขึ้นเป็นลําดับ ๆ อุปมาดังเครื่องกรองน้ำที่กรองเอาสิ่งสกปรกออกไป น้ำต้องผ่านการกรองด้วยเครื่องกรองหลาย
ๆ เครื่อง ด้วยความละเอียดที่ต่างกัน ในที่สุดก็ได้น้ำสะอาดมาดื่มกินฉันใด ใจก็เช่นเดียวกัน
ด้วยอํานาจความสะอาดบริสุทธิ์ของธรรมที่ละเอียดเข้าไปเป็นชั้น ๆ จะกลั่นกรองใจให้สะอาดบริสุทธิ์ยิ่ง
ๆ ขึ้น ส่งผลให้การคิดของใจ การพูด การกระทําของกายดีขึ้นเรื่อย ๆ นําความสุขกายความสบายใจมาสู่เจ้าตัว
ส่งผลกระทบที่ดีต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
ความสุข
ความบริสุทธิ์ของกายและใจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเดียวเท่านั้น
คือการทําสมาธิและตนเองเท่านั้นที่จะฝึกใจของตนได้ ไม่มีใครช่วยใครได้
ไม่มีใครทําแทนกันได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจึงทรงชี้แนะบอกทางให้ แต่ผู้นั้นต้องเป็นผู้ปฏิบัติเอง
จึงจะเห็นผลได้เอง
สมาธิจึงเป็นเรื่องสําคัญของทุก ๆ ชีวิต
ที่ทุกคนควรได้ฝึกทําทุกวันให้ต่อเนื่องตลอดชีวิต การเข้าถึงธรรมแม้เพียงเล็กน้อยยังนําความสุขมาให้มากมาย
ถ้ามนุษย์รักตัวเองเป็น ก็จะรักความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
มีความเพียรพยายามไม่ลดละเพื่อการเข้าถึงธรรมภายในที่มั่นคงถาวร ภพชาติใดภพชาติหนึ่งเมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยม
ก็จะสามารถเข้าถึงธรรมภายในได้สมบูรณ์ กําจัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน
กิเลสสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดไป
ในระหว่างที่เรากําลังฝึกทําสมาธิไปนั้น
เราต้องดูแลกายนี้ให้เป็นปกติดี ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม พระพุทธองค์ทรงเตือนให้มีความสํารวมระวังกาย
วาจา และการประกอบอาชีพให้ดี เพราะเรายังต้องอาศัยกายอันประกอบด้วยธาตุ ๔
ไม่บริสุทธิ์นี้ ซึ่งมีแต่วันเสื่อมสลายไป
หากสํารวมระวังได้ดี เซลล์ต่าง ๆ ก็มีอัตราการตายน้อยลง สุขภาพก็จะแข็งแรง
อายุขัยก็ยืนยาวได้
การดูแลรักษากายเพื่อการทําสมาธิด้วย ๓
เรื่องนี้ ได้แก่ การสํารวมระวังกาย วาจา และอาชีพ หากมองให้ลึกแล้ว
เราจะเห็นว่านั่นคือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ พร้อมเสร็จไปในตัว เพราะกว่าที่เราจะสามารถทําเรื่องเหล่านี้ได้ดี
เราต้องพิจารณาแล้วพิจารณาอีก การเห็นถูก เข้าใจถูกจึงจะเกิดขึ้น
เราจึงคิดถูกว่าควรจะทําอะไร อย่างไร จึงออกมาเป็นคําพูด การกระทํา การประกอบอาชีพถูก
และทั้งหมดนี้ต้องล้มลุกคลุกคลาน
พยายามแล้วพยายามอีกเพื่อปรับปรุงแก้ไขทําให้ดีขึ้น
ซึ่งต้องอาศัยสติเป็นอย่างมากจึงจะพัฒนาขึ้น
เมื่อสติมีกําลังมาก
ใจก็เป็นสมาธิได้เร็วได้ดีขึ้น การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
จึงเกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของเรารอบแล้วรอบเล่า จนกว่าใจจะหยุดนิ่งเข้าถึงพระธรรมกายภายใน เป็นการดําเนินชีวิตตามเส้นทางของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าโดยแท้
การสํารวมระวังกาย วาจา อาชีพนั้น
เรื่องสําคัญก็อยู่ที่การเติมหรือการรับธาตุ ๔
เข้าไปในตัวให้ถูกต้องเหมาะสมนั่นเอง พระพุทธองค์ทรงเตือนไว้ประการหนึ่งคือ
ให้ระวังรู้ตัว เวลารับประทานอาหาร อีก ๔-๕ คําจะอิ่ม ให้หยุด
เพราะความจริงคือ
อาหารนั้นพอกับความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ที่ยังไม่รู้สึกว่า อิ่มในทันที
เพราะอาหารส่วนสุดท้ายยังไม่ตกถึงกระเพาะอาหาร กําลังเดินทางอยู่ในหลอดอาหาร
เมื่อเราดื่มน้ำตามเข้าไปอีกครึ่งแก้ว อาหารก็จะไปถึงกระเพาะอาหาร
เราจะรู้สึกว่าอิ่มพอดี
ถ้าทําได้จะแก้ไขอุปสรรคในการฝึกสมาธิไปได้ คือ
ขจัดความง่วงในระหว่างการนั่งสมาธิและการฝึกสมาธิจะต่อเนื่อง
เพราะไม่ต้องลุกออกไปปัสสาวะในระหว่างการนั่งสมาธิ
อีกข้อสําคัญคือ
การจะฝึกใจได้ต้องฝึกห้ามใจในเรื่องง่าย ๆ ก่อน คือ เรื่องการกิน รู้ตัวว่าอีก ๔-๕
คําจะอิ่ม ให้หยุดได้แล้ว
ซึ่งในจังหวะนั้นเรามักจะกําลังเพลิดเพลินกับรสอร่อยของอาหารอยู่
การหยุดให้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
และต้องอาศัยความเพียรพยายามให้สามารถทําเป็นนิสัยหยุดได้ทุกมื้ออาหาร
ขอให้รับรู้และตระหนักว่า
มนุษย์ทุกคนสามารถแก้ไขใจให้กลับมาบริสุทธิ์ได้ด้วยการฝึกสมาธิ
เพื่อให้ใจเข้าถึงธรรม เพราะมนุษย์นั้นนอกจากประกอบด้วยกายและใจแล้ว
มนุษย์ยังมีธรรมที่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ หากสามารถรักษาใจให้อยู่กับธรรมได้
มนุษย์ก็จะคิด พูด ทําแต่ในทางที่ถูกต้องชอบธรรม พ้นจากอํานาจของกิเลสได้
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๕๐ เดือนเมษายน พ.ศ.
๒๕๕๘
คลิกอ่านหลวงพ่อตอบปัญหาของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
การรู้จักตนเองตามคำสอนของพระพุทธศาสนาฯ |
แนวทางการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จฯ |
คลิกอ่านหลวงพ่อตอบปัญหาของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เราควรปฏิบัติตนอย่างไรในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม?
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
23:59
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: