ต้นบัญญัติมารยาทไทย (ตอนที่ ๑๕)
ข้อ ๑ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ"
ข้อ ๒ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในของเขียว"
ข้อ ๓ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้
จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ
เป็นหมวดธรรมหมวดสุดท้ายว่าด้วยการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ของพระภิกษุ แม้ฆราวาสก็เอามาปรับใช้ได้เช่นกัน มีทั้งหมด ๓ ข้อ คือ
ข้อ ๑ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ"
นี้เป็นมารยาทส่วนตัวของเรา แต่ถ้าไม่ระวังก็ทำให้คนหมดความเคารพในพระพุทธศาสนาได้เหมือนกัน
มีโยมคนหนึ่ง บ้านอยู่แถวชลบุรี เดิมเป็นคนใจบุญสุนทาน ตักบาตรทุกวัน ต่อมากลับเลิกตักบาตร ใครถามถึงสาเหตุก็ไม่ยอมบอก จนกระทั่งวันหนึ่งท่านมาที่วัดด้วยความจำเป็น หลวงพ่อถามสาเหตุ ท่านอึก ๆ อัก ๆ ในที่สุดก็ตอบว่า “มีอยู่วันหนึ่งพระมาธุระที่บ้าน แล้วอย่างไรไม่รู้ ท่านเดินไปนอกเขตบ้าน ไปยืนถ่ายปัสสาวะอยู่ ดิฉันอับอายชาวบ้านมากเลยหมดความเคารพ” ดูนะแค่ท่านปัสสาวะก็ทำเอาญาติโยมเสื่อมศรัทธาไปเหมือนกัน
ฆราวาสก็เช่นกัน มารยาทพวกนี้ศึกษาไว้ให้ดี โดยเฉพาะผู้ชายที่เมาเหล้าแล้วชอบไปทำเรี่ยราดหมดสารรูป ใครก็ไม่นับถือ แม้ลูกของตัวเองไปเจอพ่อขี้เมาอย่างที่เขาเรียกกันว่า “เมาหัวราน้ำ มดเลียตา หมาเลียก้น” แกก็อายเขา เลยพาลขาดความเคารพนับถือ ขาดความเกรงใจไป
ข้อ ๒ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในของเขียว"
ตามลักษณะของของเขียวในที่นี้ หมายถึงสนามหญ้าหรือสวนผัก อย่าเผลอไปถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะรดของเขาเข้า แม้แค่บ้วนน้ำลายหรือขากเสลดลงไปก็ไม่ควรทำ ไม่น่าดู ทั้งยังเป็นที่น่ารังเกียจ
ก็น่าเห็นใจหลาย ๆ คนที่เป็นโรคหวัดเรื้อรัง เสลดมาก กรณีเช่นนี้ควรทำอย่างไร หลวงพ่อเองก็เป็นโรคหวัดเรื้อรัง ในย่ามมักจะติดกระดาษทิชชูอยู่เป็นประจำ จะขากเสลดก็ขากลงในกระดาษ แล้วทิ้งลงถังขยะ บางที่ไม่มีถังขยะให้ทิ้งก็เก็บใส่ย่าม จนกระทั่งถึงกุฏิแล้วจึงทิ้ง ไม่อย่างนั้นไม่น่าดู ทำอย่างไรได้เล่า เรามีโรคอย่างนี้ เขาอาจให้อภัยในความที่เรามีโรค แต่ก็จะไม่ให้อภัยเลย ถ้าเราไปทำมารยาทไม่งามเหล่านี้
ข้อ ๓ "ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะลงในน้ำ
ถ้าเราไม่ระวังก็ทำความเดือดร้อนให้คนอื่นได้พอ ๆ กันทุกเรื่อง เพราะถ้าถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ขากเสลด ลงในน้ำ มันจะลอยไปสร้างความไม่น่าดูให้คนอื่น ยิ่งถ้าเป็นโรคติดต่อก็ยิ่งแพร่เชื้อได้เร็ว
เรื่องเหล่านี้แม้เป็นเรื่องส่วนตัว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงแจกแจงเสียละเอียดลออ เพราะไม่ต้องการให้พระภิกษุเสื่อมจากความเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
บางคนอาจบอกว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับใคร แต่ว่ามีอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เรื่องห้องน้ำ เวลาเข้าก็เข้าทีละคน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไร ไม่มีใครเห็น แต่ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเห็น ถ้าเราไม่รักษามารยาทอย่างนี้ ก็เป็นการแสดงถึงความมีจิตใจก้าวร้าว จิตใจที่ไม่เจริญของเรา
ถ้าเราไม่ระวังก็ทำความเดือดร้อนให้คนอื่นได้พอ ๆ กันทุกเรื่อง เพราะถ้าถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ขากเสลด ลงในน้ำ มันจะลอยไปสร้างความไม่น่าดูให้คนอื่น ยิ่งถ้าเป็นโรคติดต่อก็ยิ่งแพร่เชื้อได้เร็ว
เรื่องเหล่านี้แม้เป็นเรื่องส่วนตัว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงแจกแจงเสียละเอียดลออ เพราะไม่ต้องการให้พระภิกษุเสื่อมจากความเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา
บางคนอาจบอกว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับใคร แต่ว่ามีอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เรื่องห้องน้ำ เวลาเข้าก็เข้าทีละคน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไร ไม่มีใครเห็น แต่ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครเห็น ถ้าเราไม่รักษามารยาทอย่างนี้ ก็เป็นการแสดงถึงความมีจิตใจก้าวร้าว จิตใจที่ไม่เจริญของเรา
มีผู้ใหญ่บางท่านน่าเคารพมาก ระดับอธิบดีก็มี บางครั้งน้ำประปาขาดแคลนในฤดูร้อน เมื่อท่านเข้าห้องน้ำเสร็จแล้ว ท่านยังเอื้อเฟื้อใช้ถังไปตักน้ำมาเตรียมไว้ให้คนต่อไปที่จะใช้ห้องน้ำต่อจากท่าน คนอย่างนี้น่าเคารพ คือตนเองสบายไปแล้วยังห่วงคนที่มาทีหลัง
คนที่มีน้ำใจคิดถึงคนอื่น รับรองว่าคนอย่างนี้อยู่ที่ไหนก็เจริญ ขณะนี้บ้านเมืองไม่เจริญเพราะแต่ละคนทำอะไรเอาแต่ตัวรอด
ขอฝากไว้อีกอย่างหนึ่ง เวลาเข้าห้องน้ำ เพื่อกันเสียงที่น่าเกลียด โดยเฉพาะท้องเสีย พอเข้าห้องน้ำปุ๊บควรรีบเปิดก๊อกน้ำเสียหน่อย เสียงอื่นจะได้ถูกกลบไม่ออกมานอกห้อง
อีกกรณีหนึ่งเป็นกรณีที่ใช้โถส้วมชักโครก แบบนี้มีน้ำหล่ออยู่มาก เวลานั่งต้องระวังตัวเผื่อน้ำกระเด็นสวนทางขึ้นมา อาจติดโรคจากคนอื่นได้ ทางที่ดีควรกดน้ำไล่ของเก่าเพื่อความปลอดภัย ก่อนที่จะนั่งควรโรยกระดาษชำระลงไปในโถส้วมพอประมาณ เผื่อของแข็งของเราลงไป น้ำจะได้ไม่กระเด็นสวนทางขึ้นมา จะได้ไม่จั๊กจี้ ปลอดภัยจากการติดโรคด้วย
เสขิยวัตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมบุคลิก ส่งเสริมความน่านับถือ ความจริงยังมีปลีกย่อยอีกมาก แต่ว่าเท่าที่ให้แนวทางทั้งหมดนี้ก็คิดว่าพอสมควรทีเดียว ให้นำไปปรับใช้ตามสมควรแก่สถานการณ์ที่เราพบก็แล้วกัน
เวลาจะไปเป็นกัลยาณมิตรให้ใครต้องรู้จักวางตัวให้ดี อีกประการหนึ่งเวลาเตือนคน จะเตือนอย่างไรไม่ให้เขาโกรธ ถ้าจะเตือนไม่ให้โกรธ หรือโกรธน้อยละก็ มีวิธีเตือนง่าย ๆ คือเตือนให้เขาเกิดหิริโอตตัปปะ มีความละอายต่อบาป มีความกลัวบาป เช่น
๑. เตือนให้นึกถึงความที่ตัวเขาเองเป็นคนมีตระกูล เช่น เตือนว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนมีชื่อเสียง เป็นที่น่าเคารพนับถือของคนทั้งหลาย ถ้าทำอะไรเสียหายไม่กระเทือนแค่ตัวเราเท่านั้น กระทบกระเทือนถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วย หรืออาจเตือนว่า คุณเองก็เป็นคนมีความสามารถ มีชื่อเสียง จะไปทำตัวกระจอกงอกง่อยได้อย่างไร หรือคุณก็มีชื่อเสียง มีครูบาอาจารย์จากสำนักดี ๆ ถ้าคุณไปทำตัวไม่เข้าท่าก็จะกระทบกระเทือนถึงสำนักครูบาอาจารย์ของคุณด้วย
๒. เตือนว่าให้นึกถึงความที่ตัวเขาเองเป็นคนมีอายุแล้ว หรือเตือนว่า คุณอายุตั้ง ๕๐-๖๐ ปีแล้ว ทำอะไรก็อย่าไปเอาเปรียบเด็ก ๆ เตือนให้นึกถึงชาติตระกูล ให้นึกถึงความองอาจความสามารถของเขา
ยิ่งกว่านั้น ก็ให้เขานึกถึงความดีในอดีตที่เขาเคยทำมาแล้ว หรือจะแถมเตือนให้รักลูกรักเมียว่า ถ้าเป็นอะไรไป ติดคุกติดตะรางไปลูกเมียคุณจะลำบาก พอเตือนให้มาผูกกับสิ่งเหล่านี้แล้ว ถึงจะไม่ถูกใจก็จะโกรธเราได้ยากถึงโกรธก็หายเร็ว แล้วจังหวะที่จะเตือนก็เลือกจังหวะอย่างที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ก่อนเตือนควรยิ้มให้ด้วยความจริงใจ ให้เขาเกิดความมั่นใจว่าเราหวังดีโดยแท้จริงไม่ใช่จับผิด
ถ้ารู้จักเตือนอย่างนี้ เสขิยวัตร ต้นบัญญัติของมารยาทไทยกี่ข้อ ๆ เขาย่อมรับไปปฏิบัติตามได้ทั้งหมด เรื่องกระทบกระทั่งทั้งหลายก็จะน้อยลงไป บ้านเมืองของเราก็จะร่มเย็นเป็นสุขสมกับเป็นบ้านเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แล้วชาวไทยก็จะได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่ง ประเทศไทยก็จะกลับมาเป็นสยามเมืองยิ้มอีก เมื่อเครดิตทั้งคนและประเทศดี การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ชาวต่างชาติก็จะทำได้โดยง่ายยิ่งขึ้น เพราะเขายอมรับนับถือศรัทธาเราตั้งแต่ต้นมือแล้ว
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๖๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ต้นบัญญัติมารยาทไทย (ตอนที่ ๑๔) |
คลิกอ่านต้นบัญญัติมารยาทไทย ตอนที่ ๑-๑๕ ของวารสารอยู่ในบุญ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
ต้นบัญญัติมารยาทไทย (ตอนที่ ๑๕)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:15
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: