หยุดยึดมั่น หยุดถือมั่น


สพฺพโส นามรูปสฺมึ          ยสฺส นตฺถิ มมายิตํ
อสตา จ น โสจติ             ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเราในนามรูปทั้งปวง
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรียกว่าภิกษุ
(ขุ.ธ. ๒๕/๖๕)

สรรพสิ่งในภพสามย่อมไม่เที่ยง มีความแปรผันเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นตัวเรา ตัวใคร สิ่งใด สัตว์ใด ก็เป็นเช่นนี้

หากใครไปยึดติดกับสิ่งที่มีความแปรผันไม่เที่ยงแท้

ก็ย่อมประสบทุกข์เป็นธรรมดา

การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไม่เที่ยง มันก็ทุกข์ดี ๆ นี่เอง

ดังนั้น ถ้ายึดมั่นก็เป็นทุกข์ ถ้าถือมั่นก็เศร้าโศก

ไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์ ไม่ถือมั่นก็ไม่เศร้าโศก

หยุดยึดมั่นก็หยุดทุกข์ หยุดถือมั่นก็หยุดเศร้าโศก

หยุดยึดถือ หยุดยึดติด หยุดยึดมั่น หยุดถือมั่น

หยุดใจให้บริสุทธิ์ ใจจึงไม่ทุกข์ ไม่เศร้าโศกกับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

ใจจึงหยุดสู่ของจริงภายในอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

สู่ธรรมะภายในที่ทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร

ได้กระทำพระนิพพานให้แจ้งอย่างน่าชื่นชม


Cr. อิ่มธรรม
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๖๐ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙


    น้อยนัก สั้นนัก (ปีก่อนหน้า)







คลิกอ่านส่องธรรมล้ำภาษิตของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
น้อยนัก สั้นนัก (ปีก่อนหน้า)
ไม่ละทิ้งธรรม
บอกกล่าวเล่าทุกข์
ความเป็นผู้ใหญ่
อยากได้ลูกดี
พึงทำหน้าที่ตนให้สมบูรณ์
ทำคุณบูชาโทษ
ไม่กลัวปรโลก
ฝึกตนฝึกใจไปนิพพาน
ไม่ใส่ใจสรรเสริญนินทา
เศร้าหมอง-บริสุทธิ์
เพื่อนแท้คือบุญ
ผู้เตือน-ผู้ถูกเตือน (ปีถัดไป)
หยุดยึดมั่น หยุดถือมั่น หยุดยึดมั่น หยุดถือมั่น Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 02:50 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.