เวลาเท่ากัน แต่ได้ไม่เท่ากัน


ทุกคนมีเวลา ๒๔ ชั่วโมง ในการสร้างความดีเท่ากัน แต่ไม่สามารถสร้างความดีได้เท่ากัน เนื่องจากเข้าใจเป้าหมายชีวิตไม่เท่ากัน หากใครเข้าใจมาก ก็จะขวนขวายในการทำความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ให้เกิดกับตัวเองได้มาก อีกทั้งยังคิดสอนตัวเองให้ไม่ประมาทในชีวิตได้มาก เพราะเขารู้ดีว่า..ชีวิตหลังความตาย เป็นภาวะที่แก้ตัวไม่ได้  เพราะถ้าตายแล้ว..ก็จะหมดสิทธิ์ในการสร้างบุญ เนื่องจากเป็นภพของการเสวยผลบุญ หรือผลบาปอย่างเดียว คือ ถ้าบุญมากก็จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ ถ้าบาปมากก็จะได้ไปเกิดในนรก

ด้วยเหตุนี้... ผู้มีปัญญาจึงเร่งสร้างบุญ โดยจะไม่ยอมเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไร้สาระ สิ่งที่ทำให้ใจหมอง ตลอดจนความเกียจคร้าน หรือการผัดวันประกันพรุ่ง เพราะเขารู้ดีว่า..หากทำเช่นนี้ บุญที่ได้จะน้อย ซึ่งถ้าบุญน้อย ก็จะทำให้ภพชาติต่อไปเข้าใจในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตได้ยาก อุปสรรคของชีวิตก็มาก ต้องเสียเวลาทำมาหากิน ต้องเสียเวลากับเรื่องที่ไม่ใช่แก่นสารจนไม่มีโอกาสมาสร้างบารมี

ดังนั้น จงรีบขวนขวายในการสร้างบุญ อย่าขี้เกียจ หรือผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแก่เฒ่า ไม่มีเรี่ยวแรง สภาพร่างกายก็ไม่พร้อมในการสร้างบารมีอย่างเต็มที่ และเมื่อถึงเวลานั้น..เราจะเสียดายที่เกิดมาชาตินี้ได้บุญบารมีไปนิดเดียว ทั้งๆ ที่เรามีโอกาสทำได้เต็มที่มากกว่านี้ และเมื่อเกิดมาชาติใหม่ ก็จะได้ไม่ต้องมานั่งถามตัวเอง ทำไม..เราไม่รวย ไม่หล่อ หรือไม่สวยเหมือนคนอื่น ? ทำไมเรามีความพร้อมในการสร้างบารมีได้แค่นี้เอง ???...

และนี่คือเหตุผลที่ว่า เรามีเวลาเท่ากัน แต่นำมาใช้สร้างบุญได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้เราเกิดมามีความพร้อมไม่เท่ากันนั่นเอง...

Cr. ร. ลิ่วเฉลิมวงศ์ สำนักสื่อธรรมะ
วารสารอยุ่ในบุญ ฉบับที่ ๑๒๓ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ข้อคิด-แรงบันดาลใจปี ๒๕๕๖
เดือนมกราคม ✦ เวลาเท่ากัน แต่ได้ไม่เท่ากัน
เดือนกุมภาพันธ์ ✦ พุทธวิธีสร้างธาตุทรหด
เดือนมีนาคม ✦ ๒ สิ่ง..ที่ทำให้เรากลายเป็นสุดยอดมนุษย์
เดือนเมษายน ✦ ทำไม..เราถึงเป็นคนดีคนเดียวไม่ได้ ?
เดือนพฤษภาคม ✦ สาเหตุหนึ่ง.. ที่ทำให้ใจรวมยาก
เดือนมิถุนายน ✦ เอาเวลาในการเข้าถึงธรรมของฉันคืนมา
เดือนกรกฎาคม ✦ เข้าวัดพระธรรมกาย ต้องเข้าถึงพระธรรมกาย
เดือนสิงหาคม ✦ คิดอย่างผู้มีบารมีแก่กล้า
เดือนกันยายน ✦
เดือนตุลาคม ✦
เดือนพฤศจิกายน ✦
เดือนธันวาคม  ✦
เวลาเท่ากัน แต่ได้ไม่เท่ากัน เวลาเท่ากัน แต่ได้ไม่เท่ากัน Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 02:31 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.