การรักษาพระพุทธศาสนา
การรักษาพระพุทธศาสนา
โดย หลวงพ่อทัตตชีโว
🌑 พระเจ้าอชาตศัตรูทูลถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะ
ในสมัยพุทธกาลพระเจ้าอชาตศัตรู โอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ได้หลงผิดไปเชื่อพระเทวทัตทําปิตุฆาต ฆ่าพ่อของตัวเองแล้วชิงราชสมบัติ แต่เมื่อได้ราชสมบัติสมความปรารถนาแล้ว พระองค์ก็ไม่เคยนอนหลับตาลงได้เลย เพราะมีความหวาดระแวงว่า จะมีคนมาฆ่าตนตลอดเวลา
จนกระทั่งวันหนึ่งได้รับคําแนะนําจากหมอชีวโกมารภัจจ์ แพทย์ประจําตัวของพระองค์ ให้ไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงตัดสินใจเสด็จไปสวนอัมพวัน
เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คําถามแรกที่ทรงทูลถามก็คือ “บวชพระแล้วได้อานิสงส์อย่างไร” ความจริงอยากจะถามไปว่า “พระอยู่ไปวันๆ ทําอะไร" ถามแค่คําถามเดียว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องตอบถึง ๒ คําถาม คือ
๑. พระภิกษุบวชแล้วต้องฝึกตนเองอย่างไรบ้าง
๒. บวชแล้วได้ผลดีอะไรบ้าง
สาเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงถามเช่นนี้ เพราะถูกพระเทวทัตซึ่งเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาหลอกให้ฆ่าพ่อ ต่อมาคิดได้ว่า เราทําผิดเสียแล้ว จึงเกิดความสงสัยดังกล่าว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงอธิบายจนกระทั่งเข้าใจ
จากนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูจึงกราบขออภัยโทษพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ฆ่าพ่อของตัวเองซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระองค์ แล้วประกาศตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติธรรมทํานุบํารุงพระพุทธศาสนามาตลอด จนกระทั่งได้เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรก แม้จะทําบุญถึงขนาดนั้นก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆ ได้ เพราะทํากรรมหนักไว้ แต่ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
🌑 หลักการรักษาพระพุทธศาสนา
พระภิกษุ-สามเณร เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ต้องทําความเข้าใจกันก่อนว่า พระเณรเมื่อบวชใหม่ก็คือลูกชาวบ้านนี้แหละ ความรู้ทางธรรมะอะไรก็ยังมีไม่พอ เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระภิกษุจะต้องทําสิ่งแรกคือ ต้องรักษาตัวเองให้รอดอยู่ในธรรมวินัยก่อน จากนั้นจึงจะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้
🌑 ทำอย่างไรพระจึงจะรักษาตัวเองให้รอดได้
ขั้นต้น สิ่งที่พระต้องทํา คือต้องศึกษาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอะไรบ้าง ซึ่งมีถึง ๘๔,๐๐๐ ข้อ แต่โดยหลักการเหลือเพียง ๒ ข้อ คือธรรมะและวินัย
๑. ธรรมะ คือ ส่วนที่อธิบายให้เรารู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร เมื่อปฏิบัติแล้วจะดีกับตัวเองอย่างไรไปตามลําดับ จนกระทั่งหมดกิเลส
๒. วินัย คือ ในขณะที่กําลังศึกษาธรรมะอยู่นั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เราตกอยู่ในอํานาจกิเลส ทําความไม่ดีเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องมีวินัยมาตีกรอบเอาไว้ เหมือนเอาเสือมาขังเอาไว้ พระภิกษุต้องรักษาวินัยอะไรบ้าง
๒.๑ วินัยที่เกี่ยวกับการดูแลปัจจัย ๔ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย และการรักษาสุขภาพ ที่ต้องตีกรอบ ๔ เรื่องนี้ เพราะชีวิตเราอยู่ได้ด้วยปัจจัย ๔ พระภิกษุก็เช่นกันเพียงแต่ว่ามีกฎเกณฑ์ลงมา เพื่อไม่ให้เอาแต่ใจตัวเองเหมือนเมื่อครั้งเป็นฆราวาส
๒.๒ วินัยที่จะละกรรมชั่ว ทํากรรมดี กลั่นใจให้ใส คนจะทํากรรมได้มี ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจาและใจ ข้อนี้เป็นเรื่องของการตีกรอบไม่ให้เอาร่างกาย คําพูด และความคิดที่ไม่ดีแพร่ออกมา และให้ทํา พูด คิดแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาแทนที่ โดยพระพุทธองค์ทรงให้หลักกับพระภิกษุไว้ ๒ ประเด็นใหญ่คือ
๑) สิ่งใดที่ทําแล้ว เกิดความเสียหายทั้งตนเองและผู้อื่น สิ่งนั้นห้ามทํา
๒) สิ่งใดที่ทําแล้ว เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น สิ่งนั้นต้องทํา
🌑 ทําอย่างไรพระจึงจะรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่รอดได้ ?
ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า พระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
ค่าตอบคืออยู่ในตัวของคนเรา
เมื่อพระภิกษุศึกษาพระพุทธศาสนาจนกระทั่งเข้าใจ ก็ลงมือฝึกตนเองตามกรอบพระธรรมวินัย เมื่อฝึกมากเข้า ๆ ใจจะเป็นสมาธิหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เมื่อใจกับธรรมะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรมะภายในจะก้าวหน้าเข้าถึงดวงปฐมมรรค เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ถ้าฝึกได้อย่างนี้พระพุทธศาสนาก็อยู่ในตัวพระ เราจึงเป็นพระพุทธศาสนาเคลื่อนที่ได้ จากนั้นก็เอาธรรมะในตัวของท่านมาเทศน์สอนให้เราฟัง
🌑 ญาติโยมจะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างไร ?
วัดที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ความจริงพระไม่ได้เป็นผู้สร้าง แต่ญาติโยมเป็นผู้สร้างให้ เช่น พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวัน นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุปผาราม เป็นต้น
พระภิกษุมีหน้าที่มาอยู่ มาศึกษาพระธรรมวินัย พอออกพรรษาก็แบกกลดเข้าป่าหาที่สงบไปฝึกตัวเองต่อ พอถึงฤดูเข้าพรรษาก็กลับมาที่วัด เพื่อสอนให้ญาติโยมปฏิบัติธรรม
เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสองพันห้าร้อยกว่าปี สภาพต่างๆ ความเอื้ออํานวยต่างๆ ได้ลดหายไป มาถึงวันนี้ ภาระในการสร้างวัดจึงกลายเป็นเรื่องของพระภิกษุ ไม่ใช่ของญาติโยม เพราะฉะนั้น การร่ำเรียนศึกษาของพระเลยหย่อนไป บางวัดพบว่า การศึกษาแทบไม่เหลือ เพราะหมดเวลาไปกับการสร้างวัด
หลวงพ่อจึงขอฝากให้พวกเราช่วยกันเป็นอีกเรี่ยวแรงสําคัญของการรักษาพระพุทธศาสนา เพราะในขณะที่พระภิกษุต้องรับภาระ ทั้งศึกษาพระธรรมวินัยด้วย ฝึกตัวเองด้วย สร้างวัดด้วย พวกเราซึ่งอยู่ทางโลก แม้ว่าต้องทํามาหากิน แต่ก็ต้องเอาบุญมาสร้างวัดด้วย เพราะเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว วัดก็จะกลายเป็นมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมสําหรับทั้งพระภิกษุสามเณรและประชาชน เป็นศูนย์กลางในการปลูกฝังพระพุทธศาสนาเข้าไปในใจคน อันเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่รอดปลอดภัยไปนานแสนนาน
ในโลกนี้มีประชากรหกพันกว่าล้านคน คนที่ได้รู้จักพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างมาก แค่ประมาณหนึ่งร้อยล้านคน ในจํานวนนี้มีที่ตั้งใจฝึกตัวเองเพียงไม่กี่คน ส่วนหนึ่งก็คือพวกเรา เพราะฉะนั้น อย่าดูถูกตัวเอง เมื่อรู้ว่าตัวเองมีบุญมากแล้ว ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการไปทําหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนคนมาร่วมบุญ และเร่งสร้างบุญให้กับตัวเองมาก ๆ เมื่อปฏิบัติธรรมจนได้ผลแล้ว ก็มาช่วยหลวงพ่อสอนคนอื่นต่อไป ธรรมะจะได้สว่างไสวเต็มบ้านเต็มเมือง
เรื่อง : หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
สาเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงถามเช่นนี้ เพราะถูกพระเทวทัตซึ่งเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนาหลอกให้ฆ่าพ่อ ต่อมาคิดได้ว่า เราทําผิดเสียแล้ว จึงเกิดความสงสัยดังกล่าว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงอธิบายจนกระทั่งเข้าใจ
จากนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูจึงกราบขออภัยโทษพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ฆ่าพ่อของตัวเองซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระองค์ แล้วประกาศตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติธรรมทํานุบํารุงพระพุทธศาสนามาตลอด จนกระทั่งได้เป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งแรก แม้จะทําบุญถึงขนาดนั้นก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆ ได้ เพราะทํากรรมหนักไว้ แต่ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
🌑 หลักการรักษาพระพุทธศาสนา
พระภิกษุ-สามเณร เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ต้องทําความเข้าใจกันก่อนว่า พระเณรเมื่อบวชใหม่ก็คือลูกชาวบ้านนี้แหละ ความรู้ทางธรรมะอะไรก็ยังมีไม่พอ เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระภิกษุจะต้องทําสิ่งแรกคือ ต้องรักษาตัวเองให้รอดอยู่ในธรรมวินัยก่อน จากนั้นจึงจะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้
🌑 ทำอย่างไรพระจึงจะรักษาตัวเองให้รอดได้
ขั้นต้น สิ่งที่พระต้องทํา คือต้องศึกษาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอะไรบ้าง ซึ่งมีถึง ๘๔,๐๐๐ ข้อ แต่โดยหลักการเหลือเพียง ๒ ข้อ คือธรรมะและวินัย
๑. ธรรมะ คือ ส่วนที่อธิบายให้เรารู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร เมื่อปฏิบัติแล้วจะดีกับตัวเองอย่างไรไปตามลําดับ จนกระทั่งหมดกิเลส
๒. วินัย คือ ในขณะที่กําลังศึกษาธรรมะอยู่นั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เราตกอยู่ในอํานาจกิเลส ทําความไม่ดีเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องมีวินัยมาตีกรอบเอาไว้ เหมือนเอาเสือมาขังเอาไว้ พระภิกษุต้องรักษาวินัยอะไรบ้าง
๒.๑ วินัยที่เกี่ยวกับการดูแลปัจจัย ๔ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม, อาหาร, ที่อยู่อาศัย และการรักษาสุขภาพ ที่ต้องตีกรอบ ๔ เรื่องนี้ เพราะชีวิตเราอยู่ได้ด้วยปัจจัย ๔ พระภิกษุก็เช่นกันเพียงแต่ว่ามีกฎเกณฑ์ลงมา เพื่อไม่ให้เอาแต่ใจตัวเองเหมือนเมื่อครั้งเป็นฆราวาส
๒.๒ วินัยที่จะละกรรมชั่ว ทํากรรมดี กลั่นใจให้ใส คนจะทํากรรมได้มี ๓ ทาง คือ ทางกาย วาจาและใจ ข้อนี้เป็นเรื่องของการตีกรอบไม่ให้เอาร่างกาย คําพูด และความคิดที่ไม่ดีแพร่ออกมา และให้ทํา พูด คิดแต่เรื่องดี ๆ เข้ามาแทนที่ โดยพระพุทธองค์ทรงให้หลักกับพระภิกษุไว้ ๒ ประเด็นใหญ่คือ
๑) สิ่งใดที่ทําแล้ว เกิดความเสียหายทั้งตนเองและผู้อื่น สิ่งนั้นห้ามทํา
๒) สิ่งใดที่ทําแล้ว เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น สิ่งนั้นต้องทํา
🌑 ทําอย่างไรพระจึงจะรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่รอดได้ ?
ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า พระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
ค่าตอบคืออยู่ในตัวของคนเรา
เมื่อพระภิกษุศึกษาพระพุทธศาสนาจนกระทั่งเข้าใจ ก็ลงมือฝึกตนเองตามกรอบพระธรรมวินัย เมื่อฝึกมากเข้า ๆ ใจจะเป็นสมาธิหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เมื่อใจกับธรรมะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรมะภายในจะก้าวหน้าเข้าถึงดวงปฐมมรรค เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ถ้าฝึกได้อย่างนี้พระพุทธศาสนาก็อยู่ในตัวพระ เราจึงเป็นพระพุทธศาสนาเคลื่อนที่ได้ จากนั้นก็เอาธรรมะในตัวของท่านมาเทศน์สอนให้เราฟัง
🌑 ญาติโยมจะรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างไร ?
วัดที่สร้างขึ้นในสมัยพุทธกาล ความจริงพระไม่ได้เป็นผู้สร้าง แต่ญาติโยมเป็นผู้สร้างให้ เช่น พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวัน นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุปผาราม เป็นต้น
พระภิกษุมีหน้าที่มาอยู่ มาศึกษาพระธรรมวินัย พอออกพรรษาก็แบกกลดเข้าป่าหาที่สงบไปฝึกตัวเองต่อ พอถึงฤดูเข้าพรรษาก็กลับมาที่วัด เพื่อสอนให้ญาติโยมปฏิบัติธรรม
เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสองพันห้าร้อยกว่าปี สภาพต่างๆ ความเอื้ออํานวยต่างๆ ได้ลดหายไป มาถึงวันนี้ ภาระในการสร้างวัดจึงกลายเป็นเรื่องของพระภิกษุ ไม่ใช่ของญาติโยม เพราะฉะนั้น การร่ำเรียนศึกษาของพระเลยหย่อนไป บางวัดพบว่า การศึกษาแทบไม่เหลือ เพราะหมดเวลาไปกับการสร้างวัด
หลวงพ่อจึงขอฝากให้พวกเราช่วยกันเป็นอีกเรี่ยวแรงสําคัญของการรักษาพระพุทธศาสนา เพราะในขณะที่พระภิกษุต้องรับภาระ ทั้งศึกษาพระธรรมวินัยด้วย ฝึกตัวเองด้วย สร้างวัดด้วย พวกเราซึ่งอยู่ทางโลก แม้ว่าต้องทํามาหากิน แต่ก็ต้องเอาบุญมาสร้างวัดด้วย เพราะเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว วัดก็จะกลายเป็นมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมสําหรับทั้งพระภิกษุสามเณรและประชาชน เป็นศูนย์กลางในการปลูกฝังพระพุทธศาสนาเข้าไปในใจคน อันเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่รอดปลอดภัยไปนานแสนนาน
ในโลกนี้มีประชากรหกพันกว่าล้านคน คนที่ได้รู้จักพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างมาก แค่ประมาณหนึ่งร้อยล้านคน ในจํานวนนี้มีที่ตั้งใจฝึกตัวเองเพียงไม่กี่คน ส่วนหนึ่งก็คือพวกเรา เพราะฉะนั้น อย่าดูถูกตัวเอง เมื่อรู้ว่าตัวเองมีบุญมากแล้ว ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการไปทําหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนคนมาร่วมบุญ และเร่งสร้างบุญให้กับตัวเองมาก ๆ เมื่อปฏิบัติธรรมจนได้ผลแล้ว ก็มาช่วยหลวงพ่อสอนคนอื่นต่อไป ธรรมะจะได้สว่างไสวเต็มบ้านเต็มเมือง
เรื่อง : หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/08/blog-post_27.html
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1b--R6PBGKVpP21fPah6HSAPzJFtzjOjA/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202546/05YNB_4603/05YNB_4603.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ที่นี่
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1b--R6PBGKVpP21fPah6HSAPzJFtzjOjA/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202546/05YNB_4603/05YNB_4603.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ที่นี่
- มหาสังฆทาน
- การรักษาพระพุทธศาสนา
- คุณยายผู้ทรงคุณธรรม
- จำรัส เศวตาภรณ์ ทำไม.?? เขาต้องทำเพลงเพื่อตอบโจทย์ในสิ่งที่มนุษยชาติค้นหา...
- คลายเครียดอย่างถูกวิธี
- ๔ บทบาทสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ได้ลูกดี
- เลิกอาชีพนี้ต้อง..หักดิบ !
- อนุโมทนามาฆบูชา เทศกาลแห่งแสงสว่างของมนุษยชาติ
- นักสร้างบารมีที่แท้ ไม่มีคำว่า แค่นี้พอก่อน
- สมบัติอจินไตย มีไว้ให้รวยแล้วเลี้ยงโลก
- มาฆบูชา พุทธปฏิญญาเพื่อหน้าที่ผู้นำบุญ
- ทางก้าวหน้ากับนานาทัศนะ
- ความประทับใจของแขกผู้มีเกียรติชาวต่างประเทศ
การรักษาพระพุทธศาสนา
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:35
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: