หลวงปู่ ผู้เป็นแบบอย่างแห่งชีวิตสมณะ


คําว่า “ธรรมกายเป็นสิ่งที่มีมาแล้วแต่สมัยพุทธกาล ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่หลายแห่ง แต่น่าเสียดาย
ว่า การปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมกายนั้น ยังเป็นสิ่งที่ไม่มีการอธิบายให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง จนกระทั่งหลวงปู่วัดปาก
น้ำ ท่านได้ปฏิบัติจนเข้าถึงธรรมกายได้ ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย” นั่นคือ เอาแนวการ
ปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงธรรมแห่งองค์พระศาสดามาเผยแผ่แก่ชาวโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งกล่าวกันว่าวิธีการปฏิบัติ
ให้เข้าถึงธรรมกายนั้น ทําให้สามารถทั้งรู้และทั้งเห็นธรรม นอกจากนั้นยังสามารถปฏิบัติได้ไม่จํากัดภูมิรู้
บางท่านอ่านหนังสือไม่ออกหรือแม้จะเป็นเด็กเล็กก็สามารถปฏิบัติให้เห็นธรรมจริงได้ เพราะเหตุนี้ การเผย
แผ่การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกายจึงเป็นที่ปรากฏอย่างแพร่หลาย และที่สําคัญก็คือมีคนเป็นจํานวนมาก
สามารถปฏิบัติตามได้

สมัยที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านยังมีชีวิต คําว่า “ธรรมกาย” ดูยังเป็นของใหม่ ยังไม่เป็นที่คุ้นหูของผู้คนเท่าใดนัก บางคนก็ไม่สนใจ แต่บางคนก็กลับคิดไปว่า หลวงปู่ท่านคิดบัญญัติขึ้นมาใหม่เป็นการอุตริบัญญัติขึ้นใช้ตามแนววิธีการสอนของท่าน บางคนก็ว่าท่านอวดอุตริมนุสธรรม บางคนก็พูดเหยียดหยาม เคยมีพระมหาเถระได้ปรารภเรื่องนี้กับหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

“คนเช่นเราใช่จะไร้เสียซึ่งปัญญา ชั่วก็รู้ ดีก็เห็น เราจะฆ่าตัวเราเองเพราะความปรารถนาลามกทําไม ที่เขาพูดหาว่าเราอย่างนั้น บางคนคงจะไม่รู้จักคําว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ไหน หมายเอาใคร เขาอาศัยความไม่รู้ มาว่าเราผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เมื่อผู้ไม่รู้มาติเตียนเรา ความไม่รู้ของเขาจะลบล้างสัจธรรมของพระพุทธศาสนาได้อย่างไร ถ้าจะลบก็ลบได้เพียงชั่วคราว ไม่ช้าดวงแก้วของพระพุทธศาสนาก็จะเปล่งรัศมีให้ผู้มีปัญญาเห็นด้วยสายตาของตนเอง ฯ”

ดังนั้น การที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านปฏิบัติธรรม เข้าถึงธรรมและเห็นธรรมแจ่มแจ้งเช่นนี้ ท่านจึงมีความองอาจและสง่างามในเวลาที่ท่านแสดงธรรม ธรรมะในคัมภีร์ต่างๆ ท่านสามารถชี้ให้เห็นแนวการปฏิบัติให้เกิดผลแห่งธรรมนั้นได้ตามสมควรแก่การปฏิบัติ จึงกล่าวได้ว่าท่านสามารถเป็นแบบอย่างและสามารถถ่ายทอดแนวการปฏิบัติได้ตามอย่างท่านเป็นอย่างดี ดังนั้น คํายกย่องสรรเสริญท่าน จึงไม่เกินเลยแห่งคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของท่านเลย

ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่วัดปากน้ำท่านจึงมีลูกศิษย์มาเข้ารับการอบรมสั่งสอนมากมาย กอปรด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรมของท่าน เป็นที่ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย แม้ท่านจะล่วงลับไปแล้ว ก็ยังมีการสอนสืบแนวปฏิบัติต่อกันมาอย่างไม่ขาดสาย ศิษยานุศิษย์ทั่วโลกทั้งหลาย จึงมีความปรารถนาจะแสดงกตัญญูกตเวทีต่อท่าน ซึ่งการแสดงกตัญญูกตเวทีต่อหลวงปู่วัดปากน้ำนั้น มีทั้งการปฏิบัติบูชา และสักการบูชา ด้วยเครื่องบูชาต่างๆ และได้พร้อมใจกันแสดงกตัญญูกตเวทีอย่างสูงเท่าที่สิ่งต่างๆ ในยุคนี้ จะเอื้ออํานวยและสามารถหามาได้ นั่นคือการหล่อรูปเหมือนหลวงปู่วัดปากน้ำด้วยทองคํา เพื่อจะนําไปประดิษฐาน ณ อนุสรณ์สถาน ๓ แห่ง บนเส้นทางแห่งมหาปูชนียาจารย์

ท่านผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมจะทราบดีว่า การสร้างสิ่งสักการบูชาที่สูงค่าให้บังเกิดขึ้นนี้ หาใช่เรายึดถือแต่เพียงวัตถุภายนอก หากแต่เราจะให้เป็นเครื่องน้อมนําใจให้เราระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย สร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่จิตใจ เพราะการได้เห็นสิ่งที่ดีงามก็ย่อมน้อมนําใจเราให้อ่อนโยน เกิดกุศลศรัทธาที่จะสร้างความดียิ่งๆ ขึ้นไป ขณะเดียวกันสิ่งที่เราสร้างขึ้นนี้ก็จะเป็นสิ่งสะท้อนถึงความศรัทธาให้ปรากฏ และผู้คนทั้งหลายเมื่อได้พบเห็นก็จะเกิดความสนใจ ทําให้ใครที่ยังด้อยด้วยศรัทธาก็จะเริ่มที่จะเพิ่มพูนศรัทธาปสาทให้มากขึ้น หากคนใดมีศรัทธาอยู่บ้างแล้วก็จะได้เพิ่มทับทวียิ่งๆ ขึ้นไป เช่นเดียวกับรูปหล่อทองคำหลวงปู่วัดปากน้ำในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาของมหาชนที่มีต่อท่าน และย่อมเป็นการประกาศให้เห็นถึงคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของท่าน เพราะท่านถือเป็นแบบอย่างแห่งชีวิตสมณะ ผู้ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตรงต่อเส้นทางพระรัตนตรัย นับตั้งแต่วันบวช จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านไม่เคยว่างเว้นจากการปฏิบัติธรรมเลย

บุคคลผู้ที่จะเป็นแบบอย่างแห่งธรรมปฏิบัติได้ นอกจากรู้จริงแล้วยังต้องรู้แจ้ง คือรู้แล้ว ก็ยังปฏิบัติได้ด้วย ถ้าเป็นได้เช่นนี้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการสักการะ ยกย่องในฐานะแห่งมหาปูชนียาจารย์ ถึงแม้ท่านจะยังมีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้ว ทํานก็เสมือนกับนั่งอยู่ในหัวใจของมหาชนอยู่เสมอ

วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖





***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1EtUZWpKVqgo1SJnen3GzV7mfQqehpHia/view

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญ ในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202546/08YNB_4606/08YNB_4606.html

คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ที่นี่
หลวงปู่ ผู้เป็นแบบอย่างแห่งชีวิตสมณะ หลวงปู่ ผู้เป็นแบบอย่างแห่งชีวิตสมณะ Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 23:20 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.