สนองคุณพระศาสน์ บทบาทสตรีไทย
ดอกไม้หลากสีต่างพันธุ์ ยังถูกร้อยเรียงรวมกันด้วยเส้นด้ายเป็นพวงมาลัยเพื่อบูชาพระรัตนตรัย
แผ่นลานแต่ละหน้าเมื่อได้จารจารึกอักษรสำคัญถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
ก็ต้องเรียงร้อยเป็นผูกเป็นมัดรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการสืบรักษาและศึกษาพระธรรมคำสอนอันเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย
สายสนอง คือ ไหม
ด้าย หรือเชือกที่ร้อยแผ่นลานเข้ากันเป็นผูก
โดยทำเป็นหูร้อยตามรูที่เจาะไว้ทางด้านซ้ายเพียงด้านเดียว ส่วนด้านขวาปล่อยว่างไว้เพื่อความสะดวกในการพลิกอ่าน
เป็นวิธีเข้าเล่มหนังสือแบบโบราณ นอกจากวัสดุดังกล่าวแล้ว
บางแห่งยังพบสายสนองทำจากเส้นผม
ที่ผู้หญิงไทยในอดีตตั้งใจสละบูชาเพื่อถักฟั่นเป็นสายสนองร้อยแผ่นลาน
บ้างก็นำเส้นผมมาถักเปียใช้เป็นเชือกมัดห่อคัมภีร์ใบลาน
เชือกมัดผ้าห่อคัมภีร์และสายสนองทำจากเชือกและสายฟั่น |
การถวายเส้นผมที่ดูแลรักษาอย่างดีเพื่อทำเป็นสายสนองหรือเชือกมัดคัมภีร์แสดงถึงแรงศรัทธาของสตรีที่มีต่อพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด
และยังแสดงถึงความปรารถนาอยากมีส่วนร่วมในการตอบแทนคุณพระศาสนา เฉกเช่นฝ่ายชายซึ่งเป็นผู้จารคัมภีร์
สายสนองทำจากเส้นผมถักเปีย เพื่อร้อยแผ่นใบลานรวมเป็นผูก |
ทั้งนี้เพราะสตรีไทยโบราณส่วนใหญ่อ่านหนังสือไม่ออก
เนื่องจากการศึกษาแต่เดิมไม่นิยมให้เล่าเรียนหนังสือ เน้นให้มีความรู้เฉพาะการบ้านการเรือนและงานฝีมือเป็นความรู้ติดตัว
จะมีเฉพาะสตรี ชั้นสูงในรั้วในวังเท่านั้นที่มีโอกาสได้เล่าเรียนเขียนอ่าน
ส่วนฝ่ายชายเป็นผู้ได้รับโอกาสทางการศึกษามากกว่า
เพราะศูนย์กลางของสรรพศาสตร์อยู่ที่วัด มีพระภิกษุสงฆ์
ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรที่เข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์ สอนหนังสือไทย มอญและขอม
ให้ความรู้คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งอบรมสั่งสอนจริยธรรม
กระทั่งถึงวัยอันควรก็จะได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรหรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณีต่อไป
ดังนั้นผู้ที่สามารถจารคัดลอกคัมภีร์ใบลานทางพระพุทธศาสนาได้
จึงมีแต่ฝ่ายชายที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น
แม้พระพุทธศาสนาจะให้โอกาสในการบวชเรียนแก่บุรุษมากกว่าสตรี
อย่างไรก็ตามในกรอบของวัฒนธรรมยังมีการจัดสมดุลของการจรรโลงพระพุทธศาสนา
ซึ่งสะท้อนความสำนึกรู้คุณของฝ่ายหญิงผ่านสายสนองเส้นผม
ที่ร้อยรวมแผ่นคัมภีร์ใบลาน หรือเส้นผมที่ผูกรวมคัมภีร์เป็นมัด
ประหนึ่งสายใยที่ผูกโยงพระธรรมคำสอนให้ร้อยรวมเรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อันเป็นสัญลักษณ์ของบทบาทคู่กันระหว่างเพศภาวะชายในฐานะผู้สร้างสรรค์คัมภีร์ใบลาน
และบทบาทของเพศภาวะหญิงในฐานะผู้ปกป้องรักษา
อันแสดงถึงบทบาทการตอบแทนคุณพระศาสน์ได้อย่างงดงามและทัดเทียมกัน..
อ้างอิง
สุรสิทธิ์
ไทยรัตน์. คัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. กรุงเทพ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
Cr. Tipitaka (DTP)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๔๒
เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
คลิกอ่านบทความพิเศษ พระไตรปิฎก ของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
คัมภีร์แห่งกษัตริย์.. สมบัติแห่งแผ่นดิน
คัมภีร์ใบลานราษฎร์ ร่วมสืบศาสน์และชาติไทย
เตรียมแผ่นลาน จารพระธรรม
หอไตร...กลางสายธารแลสายธรรม
จดจำ จรดจาร
สมุดไทย ใบลาน...งานศาสน์งามศิลป์
ไข (ใบ) ลาน...กาลเวลา
ย้อนวันคืน...ฟื้นรอยจาร
พระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย... ก้าวไกลสู่เวทีโลก
รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม
แลใบลาน ก่อนกาลล่วงเลย
ไข (ใบ) ลาน...กาลเวลา |
ย้อนวันคืน...ฟื้นรอยจาร |
คลิกอ่านบทความพิเศษ พระไตรปิฎก ของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
คัมภีร์แห่งกษัตริย์.. สมบัติแห่งแผ่นดิน
คัมภีร์ใบลานราษฎร์ ร่วมสืบศาสน์และชาติไทย
เตรียมแผ่นลาน จารพระธรรม
หอไตร...กลางสายธารแลสายธรรม
จดจำ จรดจาร
สมุดไทย ใบลาน...งานศาสน์งามศิลป์
ไข (ใบ) ลาน...กาลเวลา
ย้อนวันคืน...ฟื้นรอยจาร
พระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย... ก้าวไกลสู่เวทีโลก
รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม
แลใบลาน ก่อนกาลล่วงเลย
สนองคุณพระศาสน์ บทบาทสตรีไทย
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:56
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: