ควรได้-ควรให้, ไม่ควรได้-ไม่ควรให้
อเทยฺเยสุ
ททํ ทานํ เทยฺเยสุ นปฺปเวจฺฉติ
อาปาสุ
พฺยสนํ ปตฺโต สหายํ นาธิคจฺฉติฯ
ให้ของแก่คนที่ไม่ควรให้ คนที่ควรให้กลับไม่ยอมให้
เมื่อได้รับความวิบัติ เพราะอันตรายต่าง ๆ จะไม่ได้เพื่อนช่วยเหลือ
(มหาอัสสาโรหชาดก ขุ. ชา. ๒๗/๕๐๖)
ทำไมเราก็มีบริวารมาก
ให้ยศตำแหน่ง ให้ข้าวของมากมาย
แต่เวลาตกทุกข์
ไม่มีใครช่วยเราสักคน!
หลาย
ๆ ครั้งที่เราให้แก่คนที่ไม่ควรให้ คนที่ควรได้กลับไม่ให้
เพราะความลำเอียง
ได้ข้อมูลผิด ดูคนผิด จึงได้ทำผิดเช่นนั้น
เมื่อให้ผิดเช่นนี้
คนที่ไม่ควรได้ ก็ไม่ได้รำลึกถึงคุณเรา
คนที่ควรได้
กลับไม่ได้ ก็ท้อถอย ห่างหายจากเรา
เราจึงไม่มีมิตรแท้
ถึงคราวตกทุกข์ ก็ไม่มีใครช่วยเหลือ
ใครควรได้
เราควรให้ แม้เราไม่รัก
ใครไม่ควรได้
เรายังไม่ควรให้ แม้เราจะรักเขามาก
เมื่อให้อย่างถูกต้องเช่นนี้
คนควรได้จะรำลึกถึงพระคุณ
คนไม่ควรได้
จะได้พัฒนาตน
ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
เราไม่เสียผู้ใหญ่
ทุกคนอิงหลักการ
สังคมก็เป็นสุข
Cr. อิ่มธรรม
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๔๘
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
คลิกอ่านส่องธรรมล้ำภาษิตของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
มีศีล มีธรรม ละเว้นบาป
ความดี ๔ ประการ
ตนได้ ผู้อื่นเสีย ก็ไม่พูด
ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล
ยินดีในความไม่ประมาท
ตกทุกข์ก็สุขได้
คนที่ไม่ควรคบ
อยู่กับปัจจุบันลดทุกข์ ๒ เท่า
หยุดจิต หยุดน้ำตา
ระยะทางกับความรัก
น้อยนัก สั้นนัก
ไม่ละทิ้งธรรม (ปีถัดไป)
|
มีศีล มีธรรม ละเว้นบาป
ความดี ๔ ประการ
ตนได้ ผู้อื่นเสีย ก็ไม่พูด
ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล
ยินดีในความไม่ประมาท
ตกทุกข์ก็สุขได้
คนที่ไม่ควรคบ
อยู่กับปัจจุบันลดทุกข์ ๒ เท่า
หยุดจิต หยุดน้ำตา
ระยะทางกับความรัก
น้อยนัก สั้นนัก
ไม่ละทิ้งธรรม (ปีถัดไป)
ควรได้-ควรให้, ไม่ควรได้-ไม่ควรให้
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:30
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: