ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์
รอยจารึกอักษรโบราณอายุหลายร้อยปีที่ปรากฏบนแผ่นลานนั้น
มีความหมายและทรงคุณค่าต่อการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์แห่งการสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านการจดจำและจดจารจากจุดเริ่มต้น
ณ ดินแดนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
สืบทอดยาวนานผ่านรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่องหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน
แม้อักขระมีความแตกต่างกันไปตามสายจารีต แต่ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม
อักษรพม่า และอักษรสิงหล ต่างก็จดจารเนื้อความภาษาบาลีแห่งพระธรรมวินัยของพระบรมครูเฉกเช่นเดียวกัน
เอกลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละสายอักษรดึงดูดให้นักวิชาการทั้งสายจารีตและสายตะวันตกเข้ามาศึกษาวิเคราะห์ค้นคว้าร่วมกันเพื่อย้อนไปสู่คำสอนดั้งเดิม
ผู้อำนวยการโครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP)
และพระมหาวรท กิตฺติปาโล หัวหน้ากองพระไตรปิฎก
ถ่ายภาพร่วมกับ Prof. Oskar von Hinuber และ Dr. Alexander Wynne
เมื่อวันที่ ๒๒-๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
ผู้อำนวยการโครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP) ได้เชิญนักวิชาการที่เป็นที่รู้จักในวงการการศึกษาคัมภีร์ใบลานและภาษาบาลี
คือ Prof. Oskar von
Hinuber ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน
ผู้แต่งตำราที่ได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงจากนักวิชาการทั่วโลก และ Dr. Alexander Wynne นักวิชาการชาวอังกฤษ
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Oxford เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ
กองพระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย
เพื่อให้ความรู้และข้อแนะนำแก่นักวิชาการประจำของโครงการ ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุ
อุบาสก อุบาสิกา และนักวิชาการจากหลากหลายประเทศ คือ ประเทศไทย เมียนมา ศรีลังกา
ญี่ปุ่น และสเปน
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ทางโครงการได้นำภาพถ่ายดิจิทัลของคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกทีฆนิกาย
มหาวรรค แห่งพระสุตตันตปิฎก อักษรพม่าจากประเทศเมียนมาอักษรสิงหลจากประเทศศรีลังกา
และอักษรขอม อักษรธรรม จากประเทศไทย จำนวน ๒๐ ฉบับ
ที่ผ่านการคัดเลือกและกลั่นกรองมาจากคัมภีร์ทั้งหมดกว่าร้อยฉบับ เพื่อให้ได้คัมภีร์ที่ดีที่สุด
เก่าแก่ที่สุด และสมบูรณ์ที่สุด อย่างน้อยสายละ ๕ คัมภีร์
แล้วนำมาศึกษาตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ
เพื่อย้อนไปสู่คำสอนดั้งเดิมสมัยพระพุทธโฆษาจารย์
เพราะหลักฐานที่ปรากฏในอรรถกถาของพระพุทธโฆษาจารย์ที่แปลและเรียบเรียงขึ้นเพื่อขยายความพระไตรปิฎกบาลีทำให้เราสามารถสืบย้อนคำสอนแห่งพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดากลับไปได้อย่างน้อยถึงราวปี
พ.ศ. ๙๐๐
ต่อมา หลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ กระทำขึ้นหลังพุทธปรินิพพานราว
๒๐๐-๓๐๐ ปี คำสอนของพระพุทธองค์จึงแผ่ขยายไปสู่ดินแดนอื่นๆ
อย่างกว้างขวาง เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดส่งสมณทูตออกประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง
ๆ จำนวน ๙ สาย ครั้งนั้น
คณะพระภิกษุซึ่งมีพระมหินทเถระเป็นผู้นำเดินทางไปประดิษฐานพระพุทธศาสนายังเกาะลังกา
แต่ในเวลาต่อมากษัตริย์ทมิฬเข้ายึดอำนาจครอบครองเกาะลังกา
เกิดความวุ่นวายในแผ่นดิน พระภิกษุสงฆ์ได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว
บางส่วนจึงเดินทางลี้ภัยไปยังชมพูทวีป บางส่วนที่ยังอยู่ในเกาะลังกาก็หลีกเร้น
ซ่อนตัว ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เหมือนก่อน
เมื่อพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยสามารถยึดอำนาจคืนจนบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติทรงเล็งเห็นว่า
หากยังสืบทอดพระธรรมวินัยด้วยการสวดทรงจำเพียงอย่างเดียวไม่อาจรักษาพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สงฆ์ที่เหลืออยู่ในประเทศและที่เดินทางกลับมาจากชมพูทวีปทบทวนพระธรรมวินัยให้ครบถ้วนสมบูรณ์
แล้วให้จารจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นลานเป็นภาษาบาลีด้วยอักษรสิงหล
นับเป็นครั้งแรกที่การสืบทอดพระธรรมวินัยเปลี่ยนรูปแบบจากการสวดทรงจำเป็นการจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ในขณะที่แสงแห่งพระสัทธรรมได้สว่างไสว ณ เกาะลังกา
พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปกลับเสื่อมลงอย่างมากเนื่องด้วยภัยจากศาสนาอื่นที่เข้ามารุกราน
แม้คัมภีร์พระไตรปิฎกยังพอหลงเหลืออยู่ในอินเดียบ้างแต่ไม่มีคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งใช้อธิบายเนื้อความของพระไตรปิฎก
จนกระทั่งราวปี พ.ศ. ๙๐๐ พระพุทธโฆษาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย
ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญแตกฉานในภาษาบาลีจึงเดินทางไปยังเกาะลังกาเพื่อแปลและเรียบเรียงอรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับเป็นภาษาบาลีอีกครั้งตามคำแนะนำของพระอุปัชฌาย์
หลายปีแห่งการศึกษาเล่าเรียนภาษาสิงหลจนกระทั่งแตกฉาน
ท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหลกลับคืนสู่ภาษาบาลีหลายเล่ม
ซึ่งวงการการศึกษาพระพุทธศาสนาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
อาทิ คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท
ตัวอย่างพระไตรปิฎกบาลี |
ตัวอย่างอรรถกถาบาลี |
ตัวอย่างอรรถกถาแปลภาษาไทย |
มหามกุฏราชวิทยาลัย. สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกถา
ธมฺมปทฏฺกถา (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพ,โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺฐกํ
สุตฺตนฺตปิฏเก ขุทฺทกนิกายสฺส. กรุงเทพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๒.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายคาถาธรรมบท เล่ม ๑. กรุงเทพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
Cr. โครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ (DTP)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๖๘ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
คลิกอ่านพระไตรปิฎก (DTP) ของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ…พระไตรปิฎกของชาวไทย (ปีก่อนหน้า)
สองพระมหากษัตริย์...ร่มฉัตรปกแผ่นดิน
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
ตู้พระไตรปิฎก มรดกประณีตศิลป์
ลายรดน้ำ วิถีธรรม วิถีไทย
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทย รักษาไว้ให้แผ่นดิน
ใบลานเถรวาท... จารพระศาสน์สืบสายคัมภีร์
ศรัทธาธรรม ย้ำคำอธิษฐาน จารพระคัมภีร์
วิถีใบลาน แห่งน่านนคร
สมุดไทย...ทรงไว้ซึ่งสรรพศาสตร์ และอัจฉริยภาพเชิงศิลป์
พระไตรปิฎก มรดก ๙ แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ผ้าห่อถักทอเชื่อมสายบุญ (ปีถัดไป)
|
คลิกอ่านพระไตรปิฎก (DTP) ของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ…พระไตรปิฎกของชาวไทย (ปีก่อนหน้า)
สองพระมหากษัตริย์...ร่มฉัตรปกแผ่นดิน
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
ตู้พระไตรปิฎก มรดกประณีตศิลป์
ลายรดน้ำ วิถีธรรม วิถีไทย
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทย รักษาไว้ให้แผ่นดิน
ใบลานเถรวาท... จารพระศาสน์สืบสายคัมภีร์
ศรัทธาธรรม ย้ำคำอธิษฐาน จารพระคัมภีร์
วิถีใบลาน แห่งน่านนคร
สมุดไทย...ทรงไว้ซึ่งสรรพศาสตร์ และอัจฉริยภาพเชิงศิลป์
พระไตรปิฎก มรดก ๙ แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ย้อนรอยกาล ตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:49
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: