เอกวาดอร์ ดินแดนบนเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทางสู่ศูนย์กลางกาย
เอกวาดอร์
ดินแดนบนเส้นศูนย์สูตร
กับเส้นทางสู่ศูนย์กลางกาย
เอกวาดอร์เป็นประเทศเล็ก ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นหนึ่งใน ๑๓
ประเทศในโลกที่มีเส้นศูนย์สูตรพาดผ่าน คำว่า “เอกวาดอร์”
มาจากภาษาสเปน “Ecuador” ที่แปลตรงตัวว่า “เส้นศูนย์สูตร”
หากท่านผู้อ่านอยากจะลองหาประเทศนี้ในแผนที่โลก
ก็ต้องมองไปที่มุมบนซ้ายของทวีปอเมริกาใต้ จะเห็นเป็นประเทศเล็ก ๆ
ติดมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะกาลาปากอสที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน
นักวิทยาศาสตร์เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ
เคยเดินทางมาศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์เช่นกัน
เอกวาดอร์ในอดีตเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวอินคาก่อนการครอบครองของสเปน
ทำให้ประชากรเอกวาดอร์มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ หากลองดูระยะทางแล้วจะเห็นว่า
เอกวาดอร์อยู่คนละซีกโลกกับประเทศไทยเลยทีเดียว
แต่ถึงแม้ว่าระยะทางจะห่างไกลสักแค่ไหน
ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการนำแสงสว่างแห่งสันติสุขภายในไปสู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน...
ในเดือนนี้
ทีมงานพีซเรฟโวลูชันจะขอนำเสนอเรื่องราวการจัดกิจกรรม PIPO ครั้งแรก
ณ ประเทศเอกวาดอร์
ซึ่งเป็นการเดินสายสอนสมาธิโดยพระอาจารย์และทีมงานพีซเรฟโวลูชันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เพื่อนำความรู้เรื่องสันติสุขภายในไปแนะนำให้พี่น้องชาวเอกวาดอร์ได้รู้จักและสัมผัส
โดยเดินทางไปในเมือง ๕ เมือง คือ เมืองกัวยาคิว,วิลกาบัมบา,
โลฮา, เควนกา
และเมืองหลวงกีโตแล้วจัดนั่งสมาธิทั้งหมด ๑๓ รอบ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๗๐๒ คน
แต่ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมใน ๓
สถานที่มานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้สัมผัสเรื่องราวการเดินทางสู่เส้นทางสายกลางภายในของชาวเอกวาดอร์
เมืองวิลกาบัมบา (Vilcabamba) “สวรรค์ของผู้ย้ายถิ่นชาวอเมริกัน”
วิลกาบัมบาเป็นเมืองที่รู้จักโดยทั่วไปว่ามีพลเมืองสูงอายุเฉลี่ยมากที่สุดในโลก
โดยมีตำนานว่าผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้ถึง ๑๒๐-๑๓๐ ปี ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะมลภาวะที่น้อย
อากาศและน้ำก็บริสุทธิ์ สำหรับกิจกรรมการสอนสมาธิในเมืองนี้จัดขึ้นที่โฮสเทเรีย
อิซคายลูมา(Hosteria Izhcayluma) ซึ่งเป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่ห่างจากวิลกาบัมบาเพียงแค่
๑๐ นาที มีพื้นที่กว้างขวางและมีห้องพักจุคนได้ ๘๐ คน
อิซ
คายลูมา ทำการประชาสัมพันธ์ให้แก่คนในท้องถิ่น และ Expat (ผู้ย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในเอกวาดอร์)
ทำให้มีคนมาร่วมปฏิบัติธรรมถึง ๖๐ คน โดยเฉพาะ Expat กว่าครึ่งเคยนั่งสมาธิกันมาก่อนแล้ว
ทำให้เมื่อมาถึงก็นั่งหลับตาโดยไม่ฟังคำอธิบายวิธีการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นกันก่อน
พระอาจารย์จึงแนะนำวิธีทำสมาธิแบบสั้น ๆ แล้วขอร้องว่าให้อยู่นั่งกันจนจบ
แล้วก็ลุยนั่งกันเลย และเนื่องจากสถานที่ค่อนข้างสัปปายะ ทำให้บรรยากาศการนั่งค่อย
ๆ กลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติถึงจุดหนึ่งเสียงขยับขาไปมากค็ อ่ ย ๆ
หายไปเหลือเพียงเสียงใบไม้ไหว เสียงลมพัด และเสียง “สัมมาอะระหัง”
เท่านั้น ก่อนจบรอบมีคนเดินออกไป ๒-๓ คน
แต่คนที่เหลือยังคงอยู่กับความนิ่ง
เวลาผ่านไป ๔๐ นาที
เมื่อพระอาจารย์บอกให้ลืมตา หลาย ๆ คนยังลืมตาไม่ขึ้น
เมื่อถามประสบการณ์มีหลายคนบอกว่า เห็นพระอาทิตย์สว่าง
โดยมีดวงหนึ่งสว่างอยู่บนหัว(ช่วงที่พระอาจารย์ให้นึกถึงดวงอาทิตย์ที่กลางท้อง
แดดออกพอดี) อีกดวงหนึ่งสว่างที่กลางท้อง
โดยสว่างกันเกินครึ่งห้องเลยทีเดียวหลายคนบอกว่า ฉันรู้สึกเหมือนตัวโคลง ๆ
บ้างก็บอกว่าเกิดอาการเหมือนตกจากที่สูงแต่ก็ไม่ได้ตกใจ
เพราะมีความสุขเกิดขึ้นด้วยหลายคนบอกว่าคำภาวนา “สัมมาอะระหัง”
ทำให้เขามีความสุขมาก
เมื่อภาวนาก็กลายเป็นยาที่ชะล้างความคิดออกไปจากใจ
สุภาพสตรีคนหนึ่งบอกว่าเสียงของพระอาจารย์ทำให้ใจเขานิ่งจนถึงจุดที่ลึก
ลึกจนความคิดรบกวนไม่ได้ และทำให้ตัวเบาเหมือนลอยได้
โรงละครซูเคร (Sucre Theater)
รอบนี้ถือเป็นไฮไลต์ของการเดินทางทั้งหมด
เพราะเป็นรอบที่จัดในโรงละครหลักของเมือง ซึ่งมีความจุกว่า ๓๐๐ ที่นั่ง
โดยมีซานดิอาโก เด็กหนุ่มชาวเอกวาดอร์
ซึ่งเคยผ่านการอบรมเป็นพีซเอเจนต์เป็นแกนหลักลุยช่วยประสานงาน
เดินสายประชาสัมพันธ์กับวิทยุท้องถิ่นหลายสถานี และส่งข่าวไปลงหนังสือพิมพ์ด้วย
นอกจากนี้ระหว่างทางเดินจากที่จอดรถไปยังโรงละครยังติดโปสเตอร์ที่มีรูปของพระอาจารย์อยู่แทบจะทั่วทุกมุมถนน
โรงละครที่ใช้นั่งสมาธิมี ๒ ชั้น ชั้นล่างจุได้
๒๐๐ คน ชั้นบนอีก ๑๐๐ คน เมื่อสำรวจตรวจตราอุปกรณ์เครื่องเสียงแล้ว พระอาจารย์ก็หลับตารอ
และเมื่อท่านลืมตาขึ้นมาก็รู้สึกแปลกใจที่ทุกที่นั่งในชั้นล่างจำนวน ๒๐๐
เก้าอี้เต็มหมด พระอาจารย์เริ่มจากการแนะนำตัวเบา ๆ ให้คุ้นเคยก่อนว่า
บุรุษที่ห่มจีวรสีส้มดุจเปลวไฟที่อยู่ตรงหน้าคือใคร
เพื่อละลายกำแพงความเชื่อที่อาจจะกั้นระหว่างตัวท่านและหมู่มหาชนที่อยู่ตรงหน้า
ตลอด ๔๐ นาทีในการนั่งสมาธิ
สภาพโรงละครเหมือนถูกหยุดเวลาไว้ พระอาจารย์อยากจะทราบว่า
ในความสงัดที่เกิดขึ้นนั้นพวกเขานั่งสมาธิกันจริง ๆ หรือเปล่า จึงลืมตาขึ้นมาดู
ปรากฏว่า ความรู้สึกภายในกับภาพที่เห็นภายนอกนั้นสอดคล้องไปด้วยกัน และเมื่อทุกคนลืมตาขึ้นก็เหมือนผึ้งแตกรัง
เสียงอื้ออึงทำให้พระอาจารย์ต้องถามซ้ำหลายรอบว่านั่งกันได้ดีไหม สบายไหม ประมาณ
๙๐ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวที่ตอบว่าสบาย ตัวเบา
และสามารถไปถึงจุดที่ความคิดสงบลงได้ นอกจากนี้ กว่า ๔๐
เปอร์เซ็นต์บอกว่าสามารถนึกถึงพระจันทร์ได้อย่างชัดเจน
ทางผู้จัด คือ ซานดิอาโกและเพื่อน ๆ
รู้สึกประหลาดใจกับความสำเร็จที่เกิดขึ้น หลาย ๆ
คนส่งอีเมล์มาขอบคุณซานดิอาโกอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนคนหนึ่งซึ่งสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์พีซเรฟโวลูชันบอกอย่างตื่นเต้นว่า
ปกติผู้คนที่นี่ไม่ค่อยสนใจเรื่องทางจิตวิญญาณเท่าไรนัก
วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ผู้คน
ชาวเควนกาจะให้ความสนใจในการฝึกฝนจิตของตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำสมาธิสืบไป
มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก (Universidad
San Francisco de Quito)
มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกตั้งอยู่ในเมืองหลวงที่ชื่อกีโต
ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ทีมงานได้รู้จักกับศาสตราจารย์เรโนลด์ นอยบอล์
อาจารย์คณะวิชาปรัชญาตะวันออก ที่สมัยวัยรุ่นเคยไปบวชเป็นพระเถรวาทในประเทศไทยอยู่
๓ ปี ทำให้สามารถพูดภาษาไทยได้
ก่อนหน้านี้
ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศข่าวกิจกรรม PIPO ในจดหมายข่าว
ทำให้วันนี้มีผู้ร่วมนั่งสมาธิถึง ๑๐๐ คน ซึ่ง ๘๐ เปอร์เซ็นต์เป็นนักศึกษา
และส่วนใหญ่ก็เคยนั่งสมาธิมาก่อน
นักศึกษาคนหนึ่งกล่าวว่าการที่วันนี้ได้มานั่งสมาธิกับพระเป็นสิ่งที่ดีปกติเขาเคยนั่งอยู่แล้ว
แต่รู้สึกไม่มั่นใจกับประสบการณ์ เนื่องจากขาดผู้ชี้แนะ และยังกล่าวอีกด้วยว่า
มนุษย์ทุกคนควรจะมีสันติสุขภายในดังที่พระอาจารย์สอนว่า “การมีสันติสุขภายในจะทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้น
ทำให้มองโลกในทางที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบพื้นฐานของการเป็นมนุษย์”
เขาบอกด้วยว่ารู้สึกมีความสุขมากกับแสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใน
รอบนี้คนส่วนใหญ่ในห้องน่าจะนั่งสมาธิได้อย่างมีความสุข
เพราะนั่งไปเกือบ ๕๐ นาทีถือเป็นรอบที่นั่งนานที่สุด แม้จะมีคนลุกออกไปบ้าง
แต่ส่วนใหญ่ยังนั่งนิ่งไม่ขยับ นอกจากประสบการณ์ตัวโปร่ง โล่ง เบา สบาย
เหมือนลอยได้แล้ว รอบนี้ยังมีคนตกศูนย์หลายสิบคนพวกเขาถามขึ้นมาเองว่ารู้สึกเหมือนพื้นหายไปและเหมือนตกจากที่สูง
สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร นอกจากนี้ยังมีคนที่รู้สึกว่าตกลงไปได้เรื่อย ๆ อีกด้วย
ศาสตราจารย์เรโนลด์เองก็ดูจะปลื้มกับรอบนี้อยู่ไม่น้อย
ก่อนกลับจึงได้สนทนากันถึงความเป็นไปได้ที่จะทำความร่วมมือเกี่ยวกับการสอนพระพุทธศาสนาที่นี่อีกด้วย
สรุปแล้วการจัดกิจกรรม PIPO
ในครั้งนี้ถือว่าได้ผลเกินความคาดหมาย
เพราะถึงแม้ว่าเรามีกำลังคนที่ช่วยเตรียมการและประสานงานเพียงไม่กี่คน
แต่ก็มีผู้มาร่วมนั่งสมาธิจำนวนมาก และส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีมีความสุขจากภายใน
ซึ่งนับเป็นการยืนยันว่าเส้นทางสู่ศูนย์กลางกายนี้
เป็นเส้นทางแห่งการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง และไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติศาสนาใด
ก็เข้าถึงความสุขภายในได้เหมือนกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเอกวาดอร์ซึ่งได้รับกำลังใจจากพระอาจารย์ว่า
พวกเขานี่แหละเหมาะสมที่สุดที่จะเกิดตามเส้นทางสายกลาง เพราะขนาดตอนที่เกิดมา
พวกเขายังเลือกเกิดในประเทศที่ตั้งอยู่บนศูนย์กลางของโลก (เส้นศูนย์สูตร) เลย
อ้างอิง: ทีมงานพีซเรฟโวลูชัน
Cr. วารสารอยู่ในบุญ เดือนมกราคม 2559 สำนักสื่อธรรมะ
คลิกอ่านพีซเรฟโวลูชันของวารสารอยู่ในบุญ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
พีซเรฟโวลูชั่นอินฟิลิปปินส์ ตอน : คอนนี เอ็มบอรอง...ครูไอดอลแห่งศตวรรษนี้ กับเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ในพีซวิลเลจ
เมื่อสันติสุขจากโลกออนไลน์ฯ |
คลิกอ่านพีซเรฟโวลูชันของวารสารอยู่ในบุญ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เอกวาดอร์ ดินแดนบนเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทางสู่ศูนย์กลางกาย
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
02:24
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: